โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ คือ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก โดยก่อนการเพาะปลูกทุกครั้งควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยไตรโครเดอร์มา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดการระบาดของโรคต้นแตกยางไหลได้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ปลูกเมล่อนในโรงเรือนสร้างรายได้

ปลูกเมล่อนในโรงเรือนสร้างรายได้ การเตรียมดินใช้ดินทราย 2 ส่วน ขี้วัว 1 ส่วน และผสมไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อรา เพาะเมล็ดแช่เมล็ดในน้ำอุ่น จากนั้นซับด้วยกระดาษทิชชู่ 1 คืน เลือกต้นที่มีรากลงในถาดเพาะ 7-10 วัน แล้วจึงนำลงกระถาง เข้าโรงเรือนที่มีมุ้งสีขาวขนาด 32 ตา ให้น้ำและใส่ปุ๋ยให้น้ำทุกวัน วันละ 3 รอบ เช้า กลางวัน เย็น การใส่ปุ๋ยหลังจากนำลงกระถาง วันเว้นวัน วันที่ 2-24 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 วันที่ 26-44 ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 วันที่ 46-60 ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 โดยใช้ปุ๋ยแต่ละสูตร 500 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร การเก็บเกี่ยวเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 65 เป็นต้นไป น้ำหนักผลละประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ความหวานไม่น้อยกว่า 14 Brix 1 ปี สามารถปลูกได้ 3 รอบ จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว