แมลงดำหนามมะพร้าว
แมลงศัตรูมะพร้าว “แมลงดำหนามมะพร้าว” ลักษณะการเข้าทำลายตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินยอดอ่อน และจะซ่อนตัวอยู่ในใบอ่อนที่พับอยู่ โดยจะเคลื่อนย้ายไปกินยอดอื่นต่อ เมื่อใบของมะพร้าวที่ซ่อนตัวคลี่ออกมา ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเป็นสีขาวโพลนชัดเจน หรือที่เรียกว่า “มะพร้าวหัวหงอก” ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
07. แมลงดำหนามมะพร้าว
แมลงดำหนามมะพร้าว ภาพโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอสวี จังหวัดชุมพร
04. การป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าว
การป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าว จัดทำโดย : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
แมลงดำหนามมะพร้าว
ดาวน์โหลด PDF.
แมลงดำหนามมะพร้าว (coconut hispine beetle)
แมลงดำหนามมะพร้าว (coconut hispine beetle) เตือนเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สุราษฎร์ธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญ ด้วยขณะนี้หลายจังหวัดพบการระบาดของแมลงดำหนามและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ลักษณะการทำลาย ทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามมะพร้าว จะซ่อนตัวในใบอ่อนและกัดกินยอดอ่อนโดยเฉพาะยอดที่ยังไม่คลี่ ทำให้ยอดอ่อนของมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต หากต้นมะพร้าวถูกทำลายรุนแรงติดต่อกัน ทำให้ใบแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลหลายใบ มองเห็นเป็นสีขาวโพลนชัดเจน ชาวสวนเรียกว่า “โรคหัวหงอก” ซึ่งเป็นลักษณะการทำลายของแมลงดำหนาม กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ ๑. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ๒. ตัดยอดที่ถูกแมลงกัดกินมาเก็บไข่ หนอนและตัวเต็มวัยไปทำลาย ๓. ปล่อยแมลงหางหนีบทำลายไข่ หนอน และดักแด้ของแมลงดำหนาม อัตรา ๓๐๐ ตัวต่อไร่ ๔. ปล่อยแตนเบียนหนอนอะซีโคเดส อัตรา ๕ – ๑๐ มัมมี่ต่อไร่ ปล่อย ๓ – ๕ ครั้ง ห่างกัน ๒ สัปดาห์ต่อครั้ง ๕. ใช้เชื้อราเขียวเมตตาไรเซียม พ่นกำจัดหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงดำหนาม อัตราเชื้อสด ๑ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แมลงดำหนามมะพร้าว