แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
แมลงสิง

แมลงสิง แมลงสิง เป็นมวนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี ปล่อยกลิ่นเหม็นจากต่อมที่ส่วนท้อง ตัวเต็มวัยออกหากินช่วงเช้ามืดและบ่าย เพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิต 2-3 เดือน วางไข่เป็นกลุ่ม 10-12 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน ระยะไข่นาน 7 วัน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ มีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าว ส่วนตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายเมล็ดข้าวในระยะน้ำนมจนถึงออกรวง การเข้าทำลายแมลงสิงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ทั้งในระยะข้าวเมล็ดอ่อนจนถึงเมล็ดแข็ง โดยเฉพาะข้าวระยะน้ำนม ทำให้เมล็ดข้าวลีบไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสาร เมล็ดจะแตกหัก ไม่ได้คุณภาพ การป้องกันกำจัด *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงสิงมากกว่า 4 ตัว ต่อตร.ม. ในระยะน้ำนม ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
66. แมลงสิง

แมลงสิง