ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp. โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่ปลายใบและขอบใบไม้ จุดที่เกิดโรคจะมีเนื้อใบไม้ที่แห้งเป็นสีน้ำตาลแดงก่อนและต่อมาเปลี่ยนเป็นสี ขาวอมเทา และเมื่อเชื้อเจริญเติบโตจะทำความเสียหายกับใบทุเรียน โรคใบไหม้ แพร่ระบาดไปโดย ลม ฝน และ เนื้อเยื่อใบที่แห้ง สาเหตุโรค อาการโรคใบจุด ขอบใบไหม้ ส่วนมากเชื้อจะเข้าทำลายที่บริเวณปลายใบไม้และขอบใบไม้ก่อน เกิดอาการปลายใบแห้ง และ ขอบใบแห้ง ที่จุดเชื้อสาเหตุเข้าทำลาย เนื้อใบส่วนนั้นจะแห้งเป็นสีน้ำตาลแดงในระยะแรก และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเทา และเชื้อจะเจริญพัฒนาทำความเสียหายกับใบทุเรียน ขยายขนาดของพื้นที่เนื้อใบแห้งออกไปเรื่อยๆ เนื้อใบส่วนที่แห้งสีขาวอมเทามีการสร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นเม็ดสีดำกระจัดกระจายเต็มพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรค ส่วนขยายพันธุ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะแพร่ระบาดไปโดยลม และ ฝน และ จากเนื้อเยื่อใบที่แห้งและหล่นตกค้างอยู่มี่ใต้โคนต้น เชื้อสามารถเข้าทำลายได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ แนวทางการจัดการโรคใบจุด ขอบใบไหม้ เมื่อพบการระบาดของโรค ควรตัดแต่งกิ่งที่ป็นโรค เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุในแปลงปลูก แล้วพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ กำจัดเศษซากของต้นทุเรียน ที่ตัดแต่งกิ่งออกจากแปลงปลูกให้หมด อย่าปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นแหล่งสะสมโรคและแหล่งแพร่กระจายโรค ในช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมเช่นอากาศแล้งจัดๆ เศษซากพืชที่เป็นโรคเหล่านี้จะเป็นแหล่ง พักตัวของเชื้อสาเหตุโรคต่างๆ สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ เช่นสารกลุ่ม 1( เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม ไธอะเบนดาโซล ไทโอฟาเนทเมทิล) สารกลุ่ม 3 ( ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตรานาโซล เป็นต้น ) และสารกลุ่ม 11 ( อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น) และ สลับด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เปินต้น ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid031MqnCqvJm7A8UW1Kt7Msqv9hTeg2jrnguYt7z5gWWfqUEcxKHXQXgwA1rmdWjsGcl&id=100013463325204