โรคใบติดหรือใบไหม้ทุเรียน

โรคใบติดหรือใบไหม้ทุเรียน เกิดจาก เชื้อรา Rhizoctonia solani อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผล คล้ายถูกนํ้าร้อนลวก ต่อมาแผลจะ ขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล มีขนาด และรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อใบที่เป็นโรคร่วงหล่นบริเวณโคนต้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา และกระจายแพร่เชื้อต่อไป มักระบาดในช่วงฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง รวมถึงต้นทุเรียนที่มีทรงพุ่มหนา ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา https://www.facebook.com/profile.php?id=100068931140391
โรคใบติดหรือใบไหม้

โรคใบติดหรือใบไหม้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solaniอาการของโรคมักพบที่ใบอ่อนก่อน เกิดแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลจะค่อยๆ ขยายตัวลุกลามแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อราจะเจริญลุกลามไปยังใบอื่นๆที่อยู่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรครุนแรงจะแห้ง ร่วงลงไปแตะติดกับใบข้างล่าง และเจริญเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายจุดในต้น ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อมๆ และใบจะค่อยๆร่วงหล่นไปยังโคนต้น การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นอยู่บริเวณใต้โคนและวัชพืชบางชนิด เมื่อฝนตก เชื้อราจะกระเด็นขึ้นมาโดยเม็ดฝน ติดตามใบทุเรียนที่อยู่ต่ำก่อน เกิดอาการแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และเจริญสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่ส่วนขยายพันธุ์ไปยังส่วนอื่นๆ หรือบางครั้งเชื้อก็ติดไปกับมดที่มีอยู่ทั่วไปในสวนทุเรียน ขึ้นไปยังส่วนบนๆของต้น เมื่ออากาศร้อนชื้น มีฝนตกเป็นระยะ การป้องกันกำจัด1.ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดีเป็นการลดความชื้น ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค2.ในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบ3.หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น นำไปทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เฮกซะโคนาโซล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เพนทิโอไพแรด 20% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น
โรคใบติดหรือใบไหม้

โรคใบติดหรือใบไหม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://www.facebook.com/profile.php?id=100007446226945
โรคทุเรียน

โรคทุเรียน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลกhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207