ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

วันที่ 13 มกราคม 2568 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ชิ้น เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๒๖,๔๖๙ วัน เป็นสมมงคล พระชนมายุเท่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคไหม้ในข้าว

โรคไหม้ในข้าว

โรคไหม้ (Rice Blast Disease) พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่ ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น การป้องกันกำจัด ใช้พันธุ์ค่อนข้างต้านทานโรค ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโป่งไคร้ น้ำรู ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล (tricyclazone) คาซูกาไมซิน (kasugamycin) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) โพรคลอราซ ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบ (ในภาพรวม พบเฉลี่ย 2-3 แผลต่อใบ) ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล (tricyclazone) คาซูกาไมซิน (kasugamycin) อีดิเฟนฟอส ไอโซโพรไทโอเลน (isoprothiolane) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ตามอัตราที่ระบุ ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอกุยบุรี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZoCwZnGo97oHxDyKUyR1UkNc5Y8kvGFt2bQZb13irgcKnrdJZhaDHCvD2oeJirKUl&id=100007937443903

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว โรคขอบใบแห้งทําลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้าที่ขอบใบต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นโดยรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก (kresek) การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ไม่ใส่ ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปสารเคมีป้องกันกําจัด เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ ไตรเบซิคคอปเปอร์ซัลเฟต ซิงค์ไทอะโซล โรคไหม้ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง ใบเป็นจุดสีน้ําตาลคล้ายรูปตา หัวท้ายแหลม ตรงกลาง แผลมีจุดสีเทา กรณีที่โรคระบาดรุนแรงแผลขยายติดกัน กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น ระยะออกรวง มีแผลที่คอรวง เกิดเมล็ดลีบ ถ้าข้าวเริ่มโน้มรวงเกิดแผลช้ําที่คอรวง ทําให้รวงหัก การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ไม่ควร หว่านข้าวหนาแน่นเกินไป ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงสารเคมีป้องกันกําจัด ไตรไซคลาโซล ไอโซโปรไธโอเลน คาร์เบนดาซิม โรคใบจุดสีน้ําตาลทําลายระยะกล้าถึงออกรวง มีลักษณะจุดสีนํ้าตาลคล้ายสนิมรูปกลมหรือรูปไข่ที่ใบ แผลมีสีเหลือง หากพบแผลที่เกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก เรียก โรคเมล็ดด่าง ทําให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพ เมื่อนําไปสีจะทําให้เมล็ดหักง่าย การป้องกันกําจัด ปรับปรุงบํารุงดินโดยการไถกลบฟาง เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินด้วยการใช้ปุ๋ยพืชสดหรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดความรุนแรงของโรค คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา กําจัดวัชพืชทําแปลงให้สะอาด ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมสารเคมีป้องกันกําจัด คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ โพรพิโคนาโซล ทีบูโคโนโซล ครีโซซิม-เมทิล หรือคาร์เบนดา ซิม+แมนโคเซบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สํานักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท https://www.facebook.com/DoaeChainat ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ความรู้โรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา

ความรู้โรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา

ความรู้โรคข้าวที่เกิดจาก “เชื้อรา” โรคไหม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่https://www.facebook.com/biochiangmai/?locale=th_TH

4 โรคข้าวระยะกล้า

4 โรคข้าวระยะกล้า

4 โรคข้าวระยะกล้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก https://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207 โรค-แมลงศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด : https://esc.doae.go.th/โรค-แมลงศัตรูข้าว/