โรคใบด่างมันสำปะหลัง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรค ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม หงิกงอ และเสียรูปทรง ความเสียหายจากโรคจะทำให้มันสำปะหลังไม่สร้างหัวสะสมอาหารหรือหัวมีขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ปลูกมันสำปะหลังที่ปลอดโรค และเป็นพันธุ์ทนทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ พันธุ์ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 2)ไม่ควรปลูกพันธุ์อ่อนแอต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 11 และ CMR 43-08-89 3) สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอหากพบต้นเป็นโรคกระจายทั่วแปลงให้ทำลายทั้งแปลง หากพบโรคเป็นหย่อม ให้ทำลายเฉพาะต้นเป็นโรค 4) ทำลายต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการของโรคใบด่างด้วย 3 วิธี ได้แก่ วิธีฝังกลบ วิธีใส่ถุง/กระสอบ และวิธีบดสับ 5) กำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ ถ้าพบแมลงหวี่ขาวยาสูบระยะตัวอ่อนมากกว่า
เฝ้าระวัง! โรคใบด่างมันสำปะหลัง
เฝ้าระวัง! โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส CASSAVA MOSAIC VIRUS ; CMV การแพร่ระบาดเกิดจาก อาการใบมีลักษณะเป็นใบด่างเหลือง ใบหงิก เสียรูปทรง ลดรูป ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ตัน แคระแกร็น ส่งผลให้ผลผลิตลดลง กรณีติดโรคจากท่อนพันธุ์ พบอาการตั้งแต่ มันสำปะหลังอายุน้อย ทำให้มันสำปะหลัง ไม่สามารถสร้างหัวได้หรือหัวมีขนาดลีบเล็ก หากเกิดการระบาดรุนแรง ผลผลิตลดลง 80-100% กรณีติดโรคจากแมลงหวี่ขาวยาสูบ พบอาการเมื่อต้นมันสำปะหลังอายุมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 10-40% การป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
โรคใบด่างมันสำปะหลัง
ศัตรูพืชที่ติดไปกับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง “โรคใบด่างมันสำปะหลัง” เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
เร่งปฏิบัติการเชิงรุกแก้ไขปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลัง
กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งปฏิบัติการเชิงรุกแก้ไขปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลัง
แนวทางป้องกันกำจัดใบด่างมันสำปะหลัง
แนวทางป้องกันกำจัด “ใบด่างมันสำปะหลัง” 1.เลือกท่อนพันธุ์ที่สะอาด2.หมั่นสำรวจแปลงปลูก3.ตัดเฉพาะส่วนของหัวมันสดเท่านั้น4.กำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ5.หลีกเลี่ยงการขนย้ายท่อนพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรคไปสู่แหล่งปลูกอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตรhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100068112708969