คุณสมบัติของปุ๋ยไนโตรเจนรูปแบบต่าง ๆ
46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ คือ ในรูปไนเตรทเท่ากับ 13.5% มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมเท่ากับ 13.5% และมีธาตุอาหารรองบางธาตุเป็นองค์ประกอบ คือ แคลเซียมประมาณ 11-12% และกำมะถัน ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ละลายน้ำ และตอบสนองต่อพืชได้เร็ว และมีความเขียวได้นานต่อเนื่อง นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล 21-0-0แอมโมเนียซัลเฟต คือ ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย 21% และมีกำมะถัน ประมาณ 23-24% ช่วยเพิ่มสีสัน กลิ่น และน้ำมัน เมื่ออยู่ในดิน หรือสภาพน้ำขังจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างต่อเนื่อง พืชจะค่อย ๆ เขียว ต้นพืชเขียวได้นานมากกว่าการได้รับไนโตรเจนในรูปอื่น ๆ แต่ความเข้มของสีใบจะไม่เข้มมาก เหมาะกับการใช้ในพืชไร่ พืชนาน้ำขัง หรือพืชสะสมอาหารอายุยาว 15-0-0แคลเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในรูปไนเตรทเท่ากับ 15% และมีแคลเซียมประมาณ 25-26% ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ละลายน้ำและตอบสนองต่อพืชได้เร็ว พืชเขียวเร็ว นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล โดยรูปไนเตรทจะสูญเสียได้ง่ายไปกับน้ำและอากาศ 13-0-46โพแทสเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในนรูปไนเตรท 13% และมีโพแทสเซียม 46% มีคุณสมบัติในการละลายในนน้ำได้ดี ใช้ในการกระตุ้นการสะสมอาหาร และเพิ่มคุณภาพผลผลิตในพืช เพราะได้ทั้งรูปไนโตรเจน และโพแทสเซียม นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล และพืชไร่ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
ไนโตรเจน (เอ็น) ในดิน
ไนโตรเจน (เอ็น) ในดิน เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
ธาตุไนโตรเจน-N
การจัดการธาตุอาหารในแปลงข้าวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต “ไนโตรเจน-N” ความสำคัญ อาการต้นข้าวขาดไนโตรเจน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร