ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เชิญชวน เข้าร่วมเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Day) โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานวัฒนธรรมตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในงานพบกับ>>>ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน 1.เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง 2.การใช้แหนแดงในนาข้าว 3.การสร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4.การปลูกพืชหลังนา 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ไผ่”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ "ไผ่"

รู้หรือไม่? …ไผ่ แต่ละชนิดแม้จะมีชื่อเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน ชวนอ่านเรื่องราวของไผ่จาก 3 เอกสารแนะนำดังนี้ ไผ่ซางหม่นhttps://esc.doae.go.th/ไผ่ซางหม่น ไผ่รวกhttps://esc.doae.go.th/ไผ่รวก/ ไผ่หม่าจูhttps://esc.doae.go.th/ไผ่หม่าจู/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์https://www.facebook.com/profile.php?id=100084142539692

ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น

ไผ่ซางหม่น ลำตรงขนาดใหญ่เนื้อไม้แข็ง หนา มีความทนทาน ไม่มีหนาม และไม่ค่อยมีแขนง ลำแก่ ไม่ถูกรบกวนจากมอดและแมลง ลักษณะเด่นกอขนาดใหญ่ ลำใหญ่ตรง สูง 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 6-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวหม่น เนื้อหนา พบมากทางภาคเหนือ ลำใช้ในงานก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์คุณภาพดี ราคาสูง หน่อใช้เป็นอาหาร มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่ออายุประมาณ 3 ปี สามารถให้หน่อสูงสุดถึง 40 หน่อต่อกอ การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้หากต้องการลำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ควรปล่อยหน่อให้เป็นลำโดยตัดกิ่ง แขนงเล็ก ๆ บริเวณโคนลำทิ้ง ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์

ประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมการปลูกไผ่ซางหม่น

ประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมการปลูกไผ่ซางหม่น

ประชาสัมพันธ์เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมืองหนองคายที่สนใจแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไผ่ซางหม่น ด่วน! จำนวนจำกัด เหลือ 25 ที่สุดท้ายประชาสัมพันธ์เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมืองหนองคายที่สนใจแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไผ่ซางหม่น ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567ณ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองหนองคาย ในวันและเวลาราชการสามารถกรอกใบสมัครได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองหนองคายหรือสแกน QR Code ด้านล่างเพื่อพิมพ์แบบฟอร์มได้เลยค่ะ………………………………………………………….สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หมายเลขโทรศัพท์ : 042-412472