เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ไผ่”
รู้หรือไม่? …ไผ่ แต่ละชนิดแม้จะมีชื่อเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน ชวนอ่านเรื่องราวของไผ่จาก 3 เอกสารแนะนำดังนี้ ไผ่ซางหม่นhttps://esc.doae.go.th/ไผ่ซางหม่น ไผ่รวกhttps://esc.doae.go.th/ไผ่รวก/ ไผ่หม่าจูhttps://esc.doae.go.th/ไผ่หม่าจู/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์https://www.facebook.com/profile.php?id=100084142539692
ไผ่รวก
ไผ่รวก ไผ่ขึ้นเป็นกอแน่น ลำขนาดเล็ก เรียวตรง กิ่งแขนงน้อย มีกาบแห้งติดกับลำ ลักษณะเด่นไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2-4 เซนติเมตร ในที่แล้ง และขนาด 4-7 เซนติเมตร ในที่ชื้น ความสูง 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตันที่ปลายลำมีเนื้อบางกว่า ลักษณะกอปลายลำมักโค้งลง กอค่อนข้างแน่น กาบหุ้มลำคล้ายกระดาษติดอยู่กับลำนาน สามารถพบได้ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งและหน้าดินตื้น นิยมปลูกเป็นแนวรั้วและงานจักสานต่าง ๆ การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้ลำไผ่รวกถ้านำไปเผาเป็นถ่านและฟืน จะให้ความร้อนสูงถึง 6,512 แคลอรี่กรัม หน่อสามารถเอาไปทำหน่อไม้ปี๊บได้ โดยต้มรินน้ำทิ้งอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อลดความขม ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์