ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยที่หมายรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศทั้งหมด เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมมาจากกิจกรรมมนุษย์ สถานการณ์ภัยแล้งประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลกระทบเป็นชนวงกว้างให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคลิกอ่าน : https://bit.ly/3CA9fTQ เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร?คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TtaHvY

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น

โทษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร กฎหมายอาญา มาตรา 220 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)“ผู้ใดทำให้เกิดไฟไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท” ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุเกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระะวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฟรี วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร การคัดเลือกแม่พันธุ์และการขยายกล้วยพันธุ์ดีหน่วยงาน : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลกหมายเลขโทรศัพท์ : 0 5590 6220 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร

“กระเจียวหวาน” เพชรน้ำผึ้ง พืชสร้างรายได้ นางประดิษฐ์ บุญเกษม เกษตรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล “สวนดอกกระเจียว” หมู่ 21 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เริ่มปลูกกระเจียวเพชรน้ำผึ้งในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างรายได้เสริม ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

วันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 350เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

“GOOD & FOOD SECURITY” ไข่ผำ สุขภาพที่ดีและความมั่นคงทางอาหาร ไข่ผำ หรือ ไข่น้ำไขผำ เป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง รสชาติรสชาติของไข่ผำจะมีรสจืด เคี้ยวมัน เพราะเนื้อสัมผัสกรุบ ๆ คล้ายไข่ปลา

รู้หรือไม่! กรมส่งเสริมการเกษตร รณรงค์ให้เกษตรกร “หยุดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการเผา ผ่าน โมเดล 3R” โมเดล 3R มีอะไรบ้าง และเราสามารถจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ได้อย่างไร สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ เคล็ด(ไม่)ลับ หยุดเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการที่ยั่งยืน คลิกอ่าน : https://bit.ly/3CAPbkd การจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ คลิกอ่าน

ธาตุฟอสฟอรัส-P

ธาตุฟอสฟอรัส-P

การจัดการธาตุอาหารในแปลงข้าวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต “ฟอสฟอรัส-P” อาการต้นข้าวขาดฟอสฟอรัส เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

17 ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช

17 ธาตุอาหารพืช เรียงเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก ธาตุอาหารที่ได้ฟรีจากธรรมชาติ มี 3 ธาตุ ได้แก่ 1. C = คาร์บอน = พืชได้รับจากอากาศ องค์ประกอบของพืช ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง2. O = ออกซิเจน = พืชได้รับจากอากาศ และน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง3. H = ไฮโดรเจน = พืชได้รับจากน้ำ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง ธาตุอาหารหลัก พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณมาก ส่วนใหญ่ในดินมักขาด 4. N = ไนโตรเจน = พืชใช้ในการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบ แหล่งโปรตีน กรดอะมิโน ละลายง่าย สูญเสียง่าย5. P = ฟอสฟอรัส = เป็นแหล่งพลังงานของพืช ละลายยาก ตกตะกอนง่าย จำเป็นในการออกดอก แตกรากดี6. K = โพแทสเซียม = ควบคุมการเปิดปิดปากใบ คลื่อนย้ายสารอาหาร เพิ่มคุณภาพผลผลิต ธาตุอาหารรอง พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณรองลงมา ส่วนใหญ่ในดินมักขาด 7. Ca = แคลเซียม = เป็นส่วนประกอบผนังเซลล์ ขยายผล ผลไม่แตก กิ่งไม่หัก ขั้วไม่หลุด8. Mg = แมกนีเซียม = กระบวนการสังเคราะห์แสง ใบเขียว ทำงานร่วมกับ N9. S = กำมะถัน = กลิ่นดี สีสวย ใส่มากดินเป็นกรด ธาตุอาหารเสริม พืชได้รับธาตุอาหารจากดิน พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ ส่วนใหญ่มีในดิน 10. B = โบรอน = ช่วยให้พืชดูด Ca และ N ขั้วเหนียว ดอกผลไม่ร่วง11. Zn = สังกะสี = เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ ช่วยให้พืชใบเขียว12. Cu = ทองแดง = ช่วยเพิ่มอายุคลอโรฟิวส์ ใบพืชเขียวนาน สังเคราะห์แสงได้ดี13. Fe = เหล็ก = ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์อาหาร ปรุงอาหารของพืช14. Cl = คลอรีน = การรักษาสมดุล ช่วยให้ผลผลิตสุกแก่เร็ว มักไม่ค่อยขาด จำเป็นมากสำหรับมะพร้าว15. Mn = แมงกานีส = ควบคุมกิจกรรม N และ Fe กระบวนการสังเคราะห์แสง มีผลต่อใบพืช16. Mo = โมลิบดีนัม = จำเป็นสำหรับจุลินทรีย์ในดิน ช่วยตรึง N ให้พืช สร้างคลอโรฟิวส์17. Ni = นิกเกิล = เป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ ช่วยในการงอกของเมล็ด ส่วนใหญ่พืชมักไม่ขาดธาตุนี้ ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี) ประโยชน์ของฟอสฟอรัส1. เร่งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของราก ช่วยในการการแตกกอของพืช2. ช่วยในการเจริญช่อดอก การแบ่งเซลล์ของตาดอก ควบคุมการออกดอก ออกผลและการสร้างเมล็ด3. เป็นแหล่งพลังงานของพืช ช่วยให้กระบวนการต่างๆของพืชดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาการพืชเมื่อขาดธาตุฟอสฟอรัส1. ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต พืชแตกกอไม่ดี2. ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีม่วง แล้วกลายเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วง3. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล สูตรปุ๋ยฟอสฟอรัสที่หาซื้อได้18 – 46 – 00 – 52 – 34 ธาตุอาหารพืช ฟอสฟอรัส (Pพี) ประโยชน์ของฟอสฟอรัสธาตุอาหารพืช โพแทสเซียม(Kเค) ประโยชน์ของโพแทสเซียม1. ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล2. ทำให้ผลโตเร็ว น้ำหนักดี และมีคุณภาพดี3. ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนแล้ง ทนเค็ม ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด อาการพืชเมื่อขาดธาตุโพแทสเซียม1. พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ2. ลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล3. ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาดไม่ดี สูตรปุ๋ยโพแทสเซียมที่หาซื้อได้0 – 0- 500 – 0 – 60