ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เชิญชวน เข้าร่วมเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Day) โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานวัฒนธรรมตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในงานพบกับ>>>ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน 1.เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง 2.การใช้แหนแดงในนาข้าว 3.การสร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4.การปลูกพืชหลังนา 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว


โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568

มติ ครม.
มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568

โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์

  1. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ลดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกข้าว ส่งเสริมให้การผลิตข้าวมีความคุ้มค่าและเพิ่มผลกำไรต่อไร่สูงขึ้น
  2. เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตข้าวและเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงการเพาะปลูกด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพิ่มคุณภาพและผลผลิตต่อพื้นที่
  3. เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกร และขยายผลความสำเร็จไปยังเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
    4.สนับสนุนการพัฒนาภาคการเกษตรกรไทยเพื่อผลักดันให้การปลูกข้าวของเกษตรกรไทย มีความมั่นคงและสามารถแข่งขันในตลาดทั้งในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4.61 ล้านครัวเรือน

  • ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (ผ่านการตรวจสอบ)
  • ได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ หรือ ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท
  • ช่วยเหลือทุกพันธุ์ข้าว
  • ไม่มีการหักภัยธรรมชาติ

ระยะเวลาโครงการ

  • ระยะเวลาโครงการ >>ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ – 30 กันยายน 2568
  • ระยะเวลาจ่ายเงิน >> หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ ธ.ก.ส. มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการฯ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2568

แผนการตัดข้อมูลและส่งข้อมูลให้กับ ธกส.

  • ตัดข้อมูลครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2567 และส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และจะจัดส่งข้อมูลทุก ๆ 2 สัปดาห์
  • ตั้งแต่เมษายน 2568 เป็นต้นไป ส่งข้อมูลเดือนละ 1 ครั้ง

เดือนธันวาคม 2567
ครั้งที่ 1 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 6 ธันวาคม 2567 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 9 ธันวาคม 2567
ครั้งที่ 2 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 19 ธันวาคม 2567 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 23 ธันวาคม 2567

เดือนมกราคม 2568
ครั้งที่ 1 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 2 มกราคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 6 มกราคม 2568
ครั้งที่ 2 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 16 มกราคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 20 มกราคม 2568

เดือนกุมภาพันธ์ 2568
ครั้งที่ 1 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 30 มกราคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568
ครั้งที่ 2 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568

เดือนมีนาคม 2568
ครั้งที่ 1 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 3 มีนาคม 2568
ครั้งที่ 2 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 13 มีนาคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 17 มีนาคม 2568
ครั้งที่ 3 วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 27 มีนาคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 31 มีนาคม 2568

เดือนเมษายน 2568
วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 24 เมษายน 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 28 เมษายน 2568

เดือนพฤษภาคม 2568
วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 26 พฤษภาคม 2568

เดือนมิถุนายน 2568
วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 26 มิถุนายน 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 30 มิถุนายน 2568

เดือนกรกฎาคม 2568
วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 29 กรกฎาคม 2568

เดือนสิงหาคม 2568
วันที่ตัดส่งข้อมูล วันที่ 28 สิงหาคม 2568 วันที่ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. วันที่ 1 กันยายน 2568