ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

รู้หรือไม่! กรมส่งเสริมการเกษตร รณรงค์ให้เกษตรกร “หยุดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการเผา ผ่าน โมเดล 3R” โมเดล 3R มีอะไรบ้าง และเราสามารถจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ได้อย่างไร สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ เคล็ด(ไม่)ลับ หยุดเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการที่ยั่งยืน คลิกอ่าน : https://bit.ly/3CAPbkd การจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ คลิกอ่าน

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในมันสำปะหลัง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง มีสภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th


เตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกความชื้นในอากาศสูง สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้นขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในสวน หากมีน้ำท่วมควรรีบระบายออก เมื่อพบทุเรียนมีอาการใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก บริเวณลำต้นพบคราบน้ำบนผิวเปลือก รากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะน่าในการป้องกันกำจัดได้ที่เจ้าหน้าที่ส่านักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora Palmivora

ลักษณะอาการ
รากเน่า : หากขุดดูราก จะพบรากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล
อาการที่กิ่ง : ใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น
อาการที่ใบ : ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ายน้ำร้อนลวก เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ

คำแนะนำป้องกันกำจัด
1. การหมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ
2. บำรุงต้นทุเรียนให้แข็งแรง
3. หลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล
4. ทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
5. ตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

ชีวภัณฑ์หรือสารเคมีที่แนะนำ
1. เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตรา 1:4:10 โรยลงดินในพื้นที่รัศมีทรงพุ่ม ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้รองก้นหลุม อัตรา 10-100 กรัม
2. การใช้เมทาแลกซิล 25% WP หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30 – 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1
4. ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือราดดินด้วย ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
5. ทาแผลด้วยฟอสอีทิลอะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80 – 100 กรัม หรือเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50 – 60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง

เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/07/โรครากเน่าโคนเน่า.jpg