ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

กับดักมอดเจาะผลกาแฟ อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำกับดัก วิธีการใช้งานกับดักมอดเจาะผลกาแฟพื้นที่ปลูกกาแฟ 1 ไร่ ใช้กับดัก 5-10 จุด เติมสารล่อทุก 2 สัปดาห์ ควรแขวนกับดักมอดเจาะผลกาแฟ บริเวณกิ่งก้านของต้นกาแฟ ให้กระจายทั่วพื้นที่ เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ระวัง 3 โรคข้าวในหน้าหนาว

ระวัง 3 โรคข้าวในหน้าหนาว

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง ใบเป็นจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา หัวท้ายแหลมตรงกลางแผลมีจุดสีเทา กรณีที่โรคระบาดรุนแรงแผลขยายติดกัน กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ การป้องกันกำจัด โรคใบจุดสีน้ำตาล สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง มีลักษณะจุดสีน้ำตาลคล้ายสนิม รูปกลมหรือรูปไข่ ที่ใบแผลมีสีเหลือง หากพบแผลที่เกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก เรียก โรคเมล็ดด่าง ทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีจะทำให้เมล็ดหักง่าย การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี

โรคใบขาวอ้อย

โรคใบขาวอ้อย

โรคใบขาวอ้อย สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา ลักษณะอาการ : พบในอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต พบอาการใบสีขาว สีเขียวอ่อนหรือสีขาวสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอย แตกกอมาก ไม่เจริญเติบโตและตาย การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทางท่อนพันธุ์อ้อยและระบาดผ่านแมลงพาหะ 2 ชนิด ได้ แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

โรคราสนิมในอ้อย

โรคราสนิมในอ้อย

โรคราสนิมในอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Puccinia melanocephala เชื้อราสาเหตุโรคสามารถพักตัวในเศษซากพืช เกิดโรคข้ามฤดู และสามารถแพร่กระจายผ่านลมและน้ำ อาการ : ใบอ่อนพบจุดแผลขนาดเล็กสีแดง เมื่อใบแก่จุดแผลจะขยายออกเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ใต้ใบมีแผลนูน เมื่อแผลแตกออก มีลักษณะขรุขระ พบผงสปอร์สีน้ำตาลแดง (สีสนิม) การป้องกัน *พ่นทุก ๆ 10-14 วัน **อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa)

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa)

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (olivier) วงจรชีวิต รูปร่างลักษณะ ระยะตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีหนามแข็งแหลมแปกคลุมตัว ลำตัวยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน ระยะตัวเต็มวัย 14-21 วัน ระยะตัวหนอนตัวหนอน ลำตัวแบน สีขาว ตัวหนอนกินเนื้อเยื่อภายในผิวใบข้าว เจริญเติบโตและเข้าดักแด้อยู่ภายในใบข้าว ระยะหนอน 7-12 วัน ลักษณะการเข้าทำลายแมลงดำหนามข้าว มักพบการทำลายข้าวในระยะกล้าถึงออกรวง โดยสามารถทำลายต้นข้าวได้ทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัย จะพบการทำลายรุนแรงในพื้นที่นาลุ่ม การป้องกันกำจัด ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567

ราแป้งราดำมะม่วง

ราแป้งราดำมะม่วง

ราแป้งราดำมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae พบอาการที่ช่อดอก พบเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ขึ้นฟูตามก้านช่อดอก ทำให้ดอกมีลักษณะช้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อนต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำ แห้งและหลุดร่วงหากติดผลจะทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ส่วนอาการที่ใบจะพบจุดแผลสีเหลือง จะพบเชื้อราเป้นผงสีขาวคล้ายแป้งขึ้นปกคลุมผิวใบ อาการรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา และใบบิดเบี้ยวผิดรูป แนวทางการป้องกัน โรคราดำ เกิดจากเชื้อรา Capnodium sp. และ Mesiola sp. พบคราบราสีดำตามส่วนของลำต้น ใบยอดและช่อดอก ทำให้ช่อดอกบานช้าเหี่ยวและหลุดร่วงได้ ไม่ติดผล อาการที่ผล ทำให้ผลเหี่ยวและหลุดร่วง** คราบราดำเกิดจากมูลหวานของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยจักจั่น แนวทางการป้องกัน ที่มา/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร