ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เฝ้าระวัง! เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ลักษณะการทำลายตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เข้าทำลายต้นข้าวได้ทุกระยะ ตั้งแต่ข้าวเริ่มแตกกอ แตกกอเต็มที่ และระยะออกรวง ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เรียกว่า “อาการไหม้” (hopperburn) เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

สับปะรดรับประทานผลสด พันธุ์ MD2เป็นสับปะรด ที่พัฒนาขึ้นที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ขนส่งทางเรือได้ โดยไม่เป็น “ไส้สีน้ำตาล” สามารถอยู่ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส นานกว่า 10 วัน รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อมีสีเหลืองเข้ม เนื้อต้น แน่น ไม่เป็นโพรง น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย

โรคไหม้ในข้าว

โรคไหม้ (Rice Blast Disease) พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่ ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ ระยะแตกกอ

การทำนาแห้ว

แผ่นพับที่ 6/2567 การทำนาแห้ว ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี แห้วที่ปลูกในปัจจุบันคือ “แห้วพันธุ์จีน” มีลำต้นคล้ายต้นหอมหรือใบกก ลักษณะปลูกคล้ายข้าว แห้วจีนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยคาดการณ์ว่าอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการนำไปปลูกยังเขตร้อนต่าง ๆ หลายประเทศ ซึ่งแหล่งปลูกแห้วจีนที่ใหญ่ที่สุดคือจังหวัดสุพรรณบุรี และถือเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว ลักษณะการทำลายหนอนกอ เข้าทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำ ๆ เมื่อฉีกกาบใบจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้อง หรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก” (whitehead) แนวทางการป้องกัน/กำจัด เรียบเรียง :

หนอนห่อใบข้าว

หนอนห่อใบข้าว รูปร่างลักษณะหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนโตเต็มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมีระยะการเจริญเติบโต 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัย ที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสัน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ

โรคไหม้ข้าว/โรคไหม้คอรวง ปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

ชวนอ่านเรื่องราวของ “การฟิ้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด”รู้ก่อน เข้าใจก่อน กับ 4 เอกสารแนะนำดังนี้ การฟื้นฟูแปลงผักหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/48HwaaH การฟื้นฟูพืชสมุนไพรหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3U4phvu การฟื้นฟูสวนยางพาราหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/42336ry การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3T5S6q4 เรียบเรียง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนกันยายน 2567 จัดทำโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร จัดกิจกรรม “โครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ” จำนวนผู้เข้าอบรม 66 ท่าน โดยแบ่งเป็นรอบเช้า 36 ท่าน รอบบ่าย 30 ท่าน วิทยากรโดย กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ณ ห้องประชุม

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน เชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp. ลักษณะอาการเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (ลุกลาม) บนใบ โดยจุดดังกล่าวจะขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน การระบาดระบาดมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์สาหร่าย สามารถแพร่กระจายได้ทางลมและฝน การป้องกันกำจัด การใช้สารเคมี เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารัขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน ลักษณะอาการและการระบาดโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma bonibense) เชื้อราชนิดนี้กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเริ่มแพร่กระจายมายังประเทศไทย โดยการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ถือว่ามีความรุนแรง เพราะต้นพืชที่ติดเชื้อแล้วจะตาย และไม่มีทางรักษา โดยพืชที่เป็นแหล่งอาศัย ได้แก่ พืชสกุลถ่อน หมากสง สนทะเล พืชสกุลค้อ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และพืชสกุลปาล์ม เป็นต้น อาการของโรคในปาล์มน้ำมันที่มีอาการมากแล้ว อาการของต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค ใบด้านล่างจะเหลือง ใบยอดมีจุดสีเหลือง ใบไม่คลี่ ยอดอ่อนพับตัวลงและเริ่มเน่า ต่อมาต้นจะโตช้า รากบริเวณโคนต้น จะเริ่มแห้งและเน่า และสุดท้ายมีดอกเห็ดกาโนเดอร์มา (ลักษณะคล้ายเห็ดหลินจือ) งอกออกมาจากโคนต้น โดยหลังจากแสดงอาการแล้ว ปาล์มเล็กจะตายภายใน 6-12 เดือน และปาล์มใหญ่จะยืนต้นตายภายใน 2-3 ปี โดยหากมีการติดเชื้อกระจายไปมากกว่า 20% ของพื้นที่ ถือว่าไม่มีความคุ้มค่าต่อการทำสวนปาล์มน้ำมัน การป้องกันกำจัด วิธีป้องกัน “โรคลำต้นเน่า” ในปาล์มน้ำมันก่อนป

หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน

หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหน้าแมว สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปและมีอากาศรร้อนจัดหลายพื้นที่ เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในทุกระยะการเจริญเติบโตรับมือหนอนหน้าแมว หนอนหน้าแมว จะกัดเข้าทำลายในปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

หนอนกินใบมะพร้าว

หนอนกินใบมะพร้าว

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกินใบมะพร้าว หนอนกินใบมะพร้าว หรือหนอนบุ้งเล็ก เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานจากช่อดอกมะพร้าวเป็นอาหาร และสามารถบินอพยพได้ระยะสั้นระหว่างสวนมะพร้าว ระยะทางประมาณ 1-1.5 กิโลเมตร โดยในระยะหนอนจะเป็นช่วงวัยที่เข้าทำลายมะพร้าว ลักษณะอาการหนอนจะอาศัยกัดกินอยู่ด้านใต้ใบพืช หนอนขนาดเล็กจะแทะผิวเป็นทางยาว หนอนขนาดใหญ่จะกัดกินขอบใบทำให้ใบขาดแหว่ง โดยกัดกินใบจากล่างไปยอดทำให้ใบเหลืองและแห้ง พืชอาหาร ได้แก่ มะพร้าว ปาล์ม ต้นสาคู กล้วย อ้อย และใบล้านใหญ่ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ไวรัสใบด่างในมะเขือ

ไวรัสใบด่างในมะเขือ

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของไวรัสใบด่างในมะเขือ ลักษณะอาการอาการเริ่มแรกพบใบยอดอ่อนเหลืองทีละยอด จนเหลืองหมดทั้งต้น ผลของมะเขือเป็นสีเหลืองด่าง ต้นชะงักการเจริญเติบโต มีอาการที่พบในส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ผลผลิตบิดเบี้ยว ขนาดเล็กกว่าปกติ แต่ถ้าเกิดกับมะเขือที่ยังเล็กและไม่สมบูรณ์ จะไม่ให้ผลผลิตเลย หากทิ้งไว้นานจำนวนต้นที่เป็นโรค จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเหล่านี้เกิดหลังจากแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว เข้าทำลายพืช วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี