โรคราสนิมในถั่ว
โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง ล้อมรอบอยู่เป็นวงกลม แต่จะเป็นวงแคบ ๆ อาจมีผงสปอร์ซึ่งเกิดจากการเข้าทำลายซ้ำเติม ในกรณีที่เป็นรุนแรงจุดแผลสนิมเหล็กเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมาย ทำให้เนื้อใบที่เหลือ เหลืองหมดทั้งใบ แนวทางการป้องกัน จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนจะเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและใบ ระยะตัวอ่อน 17-19 วัน ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ระหว่างที่ดูดกินน้ำเลี้ยง เพลี้ยจักจั่นจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นของเหลวเหนียว ๆ คล้ายน้ำหวาน เรียกว่า Honey dew หรือมูลหวาน ซึ่งเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปกคลุมใบและช่อดอก ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้ง พบการระบาดอยู่ทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง และพบได้ตลอดทั้งปี แต่ปริมาณประชากรของเพลี้ยจักจั่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงมะม่วงออกดอก ระหว่างเดือนธันวาคม
หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ หรือใต้ดิน วิธีการป้องกันกำจัด การเขตกรรม การใช้วิธีกล การใช้สารเคมีเลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามอัตราแนะนำ ได้แก่ การใช้ชีววิธี ระยะหนอน ระยะดักแด้ เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
โรคแส้ดำอ้อย
โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี
เพลี้ยไฟในข้าว
เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน แห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมาก ๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา