หนอนคืบกินใบเงาะ
หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า ให้เขย่ากิ่งเงาะ ตัวหนอนคืบจะทิ้งตัวลงที่พื้นดิน สามารถจับทำลายได้ หรือใช้กับดักแสง ไฟล่อตัวเต็มวัยในช่วงกลางคืน (18.00 น. ถึง 20.00 น.) 3.ใช้สารสกัดสะเดา โดยนำเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำสารสะเดาที่ได้ผสมกับสารจับใบไปฉีดพ่นให้ทั่วยอดอ่อนและทรงพุ่ม 4.พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบบริเวณใบอ่อน และทรงพุ่ม ทุก 3-7 วัน 5.พ่นด้วยสารเคมี เช่น carbaryl 85% WP อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา
ราสนิมขาวในผักบุ้ง
เตือนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของราสนิมขาวในผักบุ้ง การระบาดของโรคราสนิมขาวในผักบุ้งช่วงหน้าฝน เกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae ทำให้บนใบเป็นจุดเหลือง ใต้ใบจะพบกลุ่มของสปอร์ของเชื้อราสีขาว โรคทำให้ใบหงิกงอ ถ้าอาการรุนแรงใบจะไหม้เสียหาย ต้นชะงักการเจริญเติบโต เชื้อแพร่ระบาดได้ดีในฤดูฝนหรือในสภาพที่มีความชื้นสูง การป้องกันกำจัด อาการของโรคราสนิมขาวในผักบุ้ง ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี
โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง
โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา : Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรกพบจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลขนาดเล็ก และขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลือง โดยจะพบที่ใบล่าง ใบแก่หรือโคนเถา ในเวลาเช้ามืดจะเห็นเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาที่ใต้ใบ ขอบใบจะม้วนและร่วง ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล*ในเมล่อน แคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง วิธีการดูแลรักษา ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
แมลงสิง
แมลงสิง แมลงสิง เป็นมวนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี ปล่อยกลิ่นเหม็นจากต่อมที่ส่วนท้อง ตัวเต็มวัยออกหากินช่วงเช้ามืดและบ่าย เพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิต 2-3 เดือน วางไข่เป็นกลุ่ม 10-12 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน ระยะไข่นาน 7 วัน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ มีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าว ส่วนตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายเมล็ดข้าวในระยะน้ำนมจนถึงออกรวง การเข้าทำลายแมลงสิงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ทั้งในระยะข้าวเมล็ดอ่อนจนถึงเมล็ดแข็ง โดยเฉพาะข้าวระยะน้ำนม ทำให้เมล็ดข้าวลีบไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสาร เมล็ดจะแตกหัก ไม่ได้คุณภาพ การป้องกันกำจัด *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงสิงมากกว่า 4 ตัว ต่อตร.ม. ในระยะน้ำนม ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
โรคดอกกระถินในข้าว
โรคดอกกระถินในข้าว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Ustilaginoidea virens (Cke.) การเข้าทำลายในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อราเข้าทำลายรวงข้าวในระยะเริ่มออกดอก เชื้อราสาเหตุโรค มีลักษณะเป็นผงหรือกลุ่มก้อนขนาดเล็กสีเหลือง พบอยู่ระหว่างเปลือกเมล็ดข้าว ต่อมาเชื้อราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเจริญเติบโตคลุมเมล็ดข้าวทั้งเมล็ด เมื่อเชื้อราเจริญต่อไป เยื่อหุ้มจะแตกออก เชื้อราจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ถ้าเชื้อราแก่จัด อาจพบเป็นสีดำ สุดท้ายก้อนเชื้อราดอกกระถินจะมีรอยแยกและมีสีเขียวเข้มปนเหลือง ระยะนี้เชื้อราจะปลิวไปกับลม เข้าทำลายเมล็ดข้าว ต้นอื่น ๆ ต่อไปได้ แนวทางการป้องกันกำจัด กรณีจำเป็นต้องใช้สารเคมี หรือหากจะพ่นสารป้องกันเชื้อราในข้าวระยะตั้งท้องหรือก่อนข้าวออกรวงอย่างน้อย 3-4 วัน แนะนำให้ใช้ อัตรา 15 มล. *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร**ควรสลับกลุ่มสารทุกการพ่น 2-3 ครั้ง ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร