หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหน้าแมว สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปและมีอากาศรร้อนจัดหลายพื้นที่ เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในทุกระยะการเจริญเติบโตรับมือหนอนหน้าแมว หนอนหน้าแมว จะกัดเข้าทำลายในปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี
หนอนกินใบมะพร้าว
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกินใบมะพร้าว หนอนกินใบมะพร้าว หรือหนอนบุ้งเล็ก เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานจากช่อดอกมะพร้าวเป็นอาหาร และสามารถบินอพยพได้ระยะสั้นระหว่างสวนมะพร้าว ระยะทางประมาณ 1-1.5 กิโลเมตร โดยในระยะหนอนจะเป็นช่วงวัยที่เข้าทำลายมะพร้าว ลักษณะอาการหนอนจะอาศัยกัดกินอยู่ด้านใต้ใบพืช หนอนขนาดเล็กจะแทะผิวเป็นทางยาว หนอนขนาดใหญ่จะกัดกินขอบใบทำให้ใบขาดแหว่ง โดยกัดกินใบจากล่างไปยอดทำให้ใบเหลืองและแห้ง พืชอาหาร ได้แก่ มะพร้าว ปาล์ม ต้นสาคู กล้วย อ้อย และใบล้านใหญ่ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี
ไวรัสใบด่างในมะเขือ
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของไวรัสใบด่างในมะเขือ ลักษณะอาการอาการเริ่มแรกพบใบยอดอ่อนเหลืองทีละยอด จนเหลืองหมดทั้งต้น ผลของมะเขือเป็นสีเหลืองด่าง ต้นชะงักการเจริญเติบโต มีอาการที่พบในส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ผลผลิตบิดเบี้ยว ขนาดเล็กกว่าปกติ แต่ถ้าเกิดกับมะเขือที่ยังเล็กและไม่สมบูรณ์ จะไม่ให้ผลผลิตเลย หากทิ้งไว้นานจำนวนต้นที่เป็นโรค จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเหล่านี้เกิดหลังจากแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว เข้าทำลายพืช วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี
ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาว พบการระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนตลอดทั้งปี โดยตัวหนอนจะเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ด้วงหนวดยาว มีตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่ กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม ลักษณะการทำลายตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกอาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน ทำในต้นหนึ่ง ๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่าง ๆ กัน เป็นจำนวนมาก สวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่าง ๆ ในต้นทุเรียนเฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น วิธีป้องกันกำจัด ให้หมั่นออกตรวจบริเวณสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบขุยมูลตัวหนอน ให้ใช้มีดคมถากเปลือกต้นทุเรียนอ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ลักษณะการทำลายและการระบาด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อม ๆ (อาการไหม้) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และขอบใบแหว่งวิ่น แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี