ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกษตรกรไทย อายุเฉลี่ย 59 ปี นักส่งเสริมการเกษตร ต้องปรับกระบวนการเรียนรู้ อบรมให้เหมาะสมกับวัย เพิ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในงานสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (วันที่ 19 ตุลาคม 2567)

โลกร้อนขึ้น เกษตรกรต้องปรับตัว ด้วยต้นทุน ความรู้ แรงงาน และเทคโนโลยี นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในงานสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (วันที่ 19 ตุลาคม 2567)

Climate Change ไม่ใช่แค่คำ Fashion ต้องตระหนัก เห็นก่อน รู้ก่อน จะลดความเสียหายได้ นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในงานสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (วันที่ 19 ตุลาคม 2567)

“นักส่งเสริมการเกษตรกว่าหมื่นคน ต้องปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีทำ เพื่อพาเกษตรกรกว่าล้านคนไปสู่เป้าหมาย” นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรในงานสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (วันที่ 19 ตุลาคม 2567)

เตือนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนหัวดำในมะพร้าว/ปาล์มน้ำมัน สามารถพบได้ทั้งในระยะที่ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว จะพบตัวหนอนเข้าทำลายแทะกินผิวใต้ทางใบ จากนั้นตัวหนอนจะถักใยโดบใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมเส้นใยที่สร้างขึ้นมาทำอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบแก่ การป้องกันกำจัด 1.ตัดใบที่มีหนอนหัวดำลงทำลาย นำลงมาเผาหรือฝังทำลาย 2.การพ่นด้วยชีวภัณฑ์ “บีที” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ 5 มิลลิลิตร ฉีดพ่นต้นละ

ด้วงงวงมะพร้าว

ด้วงงวงมะพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchophorus ferrugineus การเข้าทำลายมักพบการเข้าทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยด้วงงวงมะพร้าว จะวางไข่บนแผลบริเวณลำต้น หรือบริเวณยอดต้นมะพร้าวที่ด้วงแรดเจาะทำลายไว้ หากถูกด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายจำนวนมาก มะพร้าวจะมีอาการยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลืองหักพับ บางครั้งพบการเข้าทำลายที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย การป้องกันกำจัด วิธีเขตกรรมทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าว เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด หากพบหนอนหรือดักแด้ด้วงงวงมะพร้าวให้จับมาทำลาย วีธีกลใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอแทงเข้าไปในต้นเพื่อเกี่ยวตัวหนอนออกมาทำลาย และทาบริเวณรอยแผลด้วยสารทาร์ (เป็นส่วนผสมของน้ำมันเครื่อง 1

มวนถั่วเหลือง

มวนถั่วเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Riptortus linearisวงศ์ Alydidae : Hemipteraมวนถั่วเหลือง ตัวเต็มวัยมีลำตัวเรียวยาว ด้านข้างลำตัวมีแถบสีเหลืองคาดยาว ข้างละแถบ ขายาว ขาคู่หลังปล้องแรกขยายใหญ่กว่าคู่หน้าชัดเจน การเข้าทำลายสภาพอากาศฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ แปลงถั่วเหลืองระยะออกดอก อาจจะพบการเข้าทำลายของมวนถั่วเหลือง ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ลำต้น ดอก และฝักของถั่วเหลืองฝักอ่อนที่ถูกทำลายจะลีบ ไม่ติดเมล็ด

ผึ้งชันโรง

ผึ้งชันโรง ลักษณะทั่วไปชันโรงเป็นแมลงวงศ์เดียวกับผึ้ง มีพฤติกรรมเก็บน้ำหวานดอกไม้และละอองเกสรเพศผู้ของดอกไม้มาใช้เป็นอาหาร มีรัศมีการบินหาอาหารประมาณไม่เกิน 300 เมตร การเตรียมการเลี้ยงชันโรง ประโยชน์จากชันโรงในทางเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรต่อชาวสวนผลไม้อย่างมาก จึงมีผู้หันมาเลี้ยงชันโชงเป็นอาชีพเสริมเพื่อประโยชน์ในการทำสวน โครงสร้างของรังชันโรง ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

แมลงดำหนามข้าว

แมลงดำหนามข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (Olivier) การทำลายตัวเต็มวัยกัดกิน และแทะผิวใบข้าวด้านบน ทำให้เป็นรอยขูดทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ส่วนตัวหนอนจะชอนใบข้าว เห็นเป็นรอยแผ่นสีขาวขุ่น มัว ขนานกับเส้นใบ นาข้าวที่ถูกทำลายรุนแรง ใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสัน้ำตาล เหมือนถูกไฟไหม้ คำแนะนำในการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ประกาศรับสมัครเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เข้าร่วมอบรมระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง, มะนาว, กล้วยน้ำว้า และเห็ด ที่มีความสนใจในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ เข้าร่วมอบรม “โครงการยกระดับเมืองวิถีเกษตรกรรมสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร” อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอบางแพ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว ปัจจัยการระบาด วิธีการปลูกข้าว : นาหว่านจะมีการระบาดมากกว่านาดำ เพราะมีต้นข้าวหนาแน่นกว่า อุณหภูมิความชื้นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ย การใช้ปุ๋ย : หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ใบข้าวจะเขียวหนาแน่น อวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ย การควบคุมน้ำในนาข้าว : นาที่มีน้ำขังในนาตลอด จะมีการเพิ่มของเพลี้ยได้มากกว่านาที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว การใช้สารฆ่าแมลง : หากใช้ในระยะเพลี้ยตัวเต็มวัยหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ ตัวเพลี้ยจะตาย แต่ไข่ของเพลี้ยมีโอกาสรอดสูง การป้องกันกำจัด

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

เฝ้าระวัง! เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ลักษณะการทำลายตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เข้าทำลายต้นข้าวได้ทุกระยะ ตั้งแต่ข้าวเริ่มแตกกอ แตกกอเต็มที่ และระยะออกรวง ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เรียกว่า “อาการไหม้” (hopperburn) เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว ลักษณะการทำลายหนอนกอ เข้าทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำ ๆ เมื่อฉีกกาบใบจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้อง หรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก” (whitehead) แนวทางการป้องกัน/กำจัด เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

หนอนห่อใบข้าว

หนอนห่อใบข้าว

หนอนห่อใบข้าว รูปร่างลักษณะหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนโตเต็มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมีระยะการเจริญเติบโต 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัย ที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสัน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ ขณะเกาะใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย เพศเมียวางไข่เวลากลางคืน ประมาณ 300 ฟอง บนใบข้าว ลักษณะการทำลายผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน โดยเฉพาะใบที่ 1-2 จากยอด เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว ส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้เส้นใยดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้หนอนจะทำลายใบข้าว ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธง ซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง แนวทางการป้องกัน/กำจัด

โรคไหม้ข้าว/โรคไหม้คอรวง

โรคไหม้ข้าว/โรคไหม้คอรวง

โรคไหม้ข้าว/โรคไหม้คอรวง ปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี