หนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม
เตือนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหัวดำในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนหัวดำในมะพร้าว/ปาล์มน้ำมัน สามารถพบได้ทั้งในระยะที่ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว จะพบตัวหนอนเข้าทำลายแทะกินผิวใต้ทางใบ จากนั้นตัวหนอนจะถักใยโดบใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมเส้นใยที่สร้างขึ้นมาทำอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบแก่ การป้องกันกำจัด 1.ตัดใบที่มีหนอนหัวดำลงทำลาย นำลงมาเผาหรือฝังทำลาย 2.การพ่นด้วยชีวภัณฑ์ “บีที” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ 5 มิลลิลิตร ฉีดพ่นต้นละ 3- 5 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน (ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัด) 3.การใช้แตนเบียนควบคุมหนอนหัวดำ 4.การควบคุมด้วยสารเคมี โดยวิธีฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ใช้สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC ฉีดเข้าลำต้น ในอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น (วิธีนี้ห้ามใช้กับมะพร้าวที่สูงน้อยกว่า 12 เมตร มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวก
ด้วงงวงมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchophorus ferrugineus การเข้าทำลายมักพบการเข้าทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยด้วงงวงมะพร้าว จะวางไข่บนแผลบริเวณลำต้น หรือบริเวณยอดต้นมะพร้าวที่ด้วงแรดเจาะทำลายไว้ หากถูกด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายจำนวนมาก มะพร้าวจะมีอาการยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลืองหักพับ บางครั้งพบการเข้าทำลายที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย การป้องกันกำจัด วิธีเขตกรรมทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าว เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด หากพบหนอนหรือดักแด้ด้วงงวงมะพร้าวให้จับมาทำลาย วีธีกลใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอแทงเข้าไปในต้นเพื่อเกี่ยวตัวหนอนออกมาทำลาย และทาบริเวณรอยแผลด้วยสารทาร์ (เป็นส่วนผสมของน้ำมันเครื่อง 1 ลิตรผสมกับกำมะถันผง 100 กรัม คนให้เข้ากัน) เพื่อป้ิงกันไม่ให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายซ้ำรอยแผลที่เกิดจากการตัดทางใบ หรือรอยแตกที่โคนลำต้น ควรใช้สารทาร์ทาเพื่อป้องกันการวางไข่ ชีววิธีใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ใส่ไว้บริเวณกองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ การใช้สารเคมีใช้สารไดอะซินอน 60% EC หรือสารฟิริมิฟอสเมทิล 50% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะ
มวนถั่วเหลือง
มวนถั่วเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Riptortus linearisวงศ์ Alydidae : Hemipteraมวนถั่วเหลือง ตัวเต็มวัยมีลำตัวเรียวยาว ด้านข้างลำตัวมีแถบสีเหลืองคาดยาว ข้างละแถบ ขายาว ขาคู่หลังปล้องแรกขยายใหญ่กว่าคู่หน้าชัดเจน การเข้าทำลายสภาพอากาศฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ แปลงถั่วเหลืองระยะออกดอก อาจจะพบการเข้าทำลายของมวนถั่วเหลือง ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ลำต้น ดอก และฝักของถั่วเหลืองฝักอ่อนที่ถูกทำลายจะลีบ ไม่ติดเมล็ด และร่วงหล่นทำให้ผลผลิตลดลง แนวทางการป้องกันกำจัด กรณีที่จำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำสารเคมี ได้แก่ พ่นเมื่อพบตัวเต็มวัยของมวนถั่วเหลือง 2-3 ตัวต่อแปลงยาว 1 เมตร *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร **ควรสลับกลุ่มสารทุกการพ่น 2-3 ครั้ง กับการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
แมลงดำหนามข้าว
แมลงดำหนามข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (Olivier) การทำลายตัวเต็มวัยกัดกิน และแทะผิวใบข้าวด้านบน ทำให้เป็นรอยขูดทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ส่วนตัวหนอนจะชอนใบข้าว เห็นเป็นรอยแผ่นสีขาวขุ่น มัว ขนานกับเส้นใบ นาข้าวที่ถูกทำลายรุนแรง ใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสัน้ำตาล เหมือนถูกไฟไหม้ คำแนะนำในการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
เพลี้ยแป้งในมะละกอ
เพลี้ยแป้งในมะละกอ การเข้าทำลายช่วงอากาศร้อนชื้น ในพื้นที่ปลูกมะละกอ ระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งในระยะติดผล เพลี้ยแป้งระยะตัวอ่อนแลัตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบ ดอก และผล โดยมีมดดำช่วยพาไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นมะละกอ การทำลายที่ดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกและผลมะละกอหลุดร่วง แนวทางการป้องกันกำจัด กรณีที่จำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำสารเคมี ได้แก่ *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร ** ควรสลับกลุ่มสารทุกการพ่น 2-3 ครั้ง ป้องกันการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร