ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ข้าว ให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุด สำรวจทั่วแปลงในนาหว่าน 10 ต้น ต่อจุดสำรวจ ในนาดำ 1 กอ ต่อจุดสำรวจ (นับทุกต้นใน 1 กอ) 1.เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ย

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 รายการศูนย์ขยายกระจายข่าว โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช พูดคุยหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร” https://www.facebook.com/radiothungsongfm97/videos/538759919135860

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 4,630 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

พลูเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ดูแลง่ายสามารถปลูกได้ทุกฤดูราคาซื้อขายพลูกินใบขึ้นลงได้ตามภาวะ ราคาตลาด ตั้งแต่ 45-120 บาทต่อกิโลกรัม การปลูกเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง ไม้ที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่ เพราะไม้ไผ่มีน้ำหนักเบาและมีเนื้อเยื่อไม้ที่เหนียว ทำให้พลูยึดเกาะได้ดี วิธีปลูก ทำการปักไม้ค้างระยะห่างต้น 60 ซม. ขุดหลุมให้ลึก 60 ซม. ขนาด 50×50 ซม. ส่วนดินที่ใส่ลงไปในหลุมให้ผสมมูลวัวด้วย

รวม เคล็ด(ไม่)ลับ ที่กรมส่งเสริมการเกษตร อยากแชร์กับพี่น้องเกษตรกร ด้วยการหยุดเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการที่ยั่งยืน มัดรวมให้แล้วกับองค์ความรู้ต่างๆ ที่สามารถหยิบจับไปใช้งานได้ในพื้นที่ของตัวเอง

ทริคโครแกรมม่า นักล่าไข่ผีเสื้อ วิธีการปล่อยแตนเบียนไข่ทริคโครแกรมม่า แตนเบียนไข่ทริคโครแกรมม่า ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรพื้นที่ 2 ลาดกระบัง ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 105 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด เกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi ลักษณะอาการ : จะพบจุดขนาดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำ โดยเฉพาะใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะใบยอดอาการที่เห็นได้ชัดจะพบอาการใบด่างหรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่จะพบส่วนของเชื้อราเป็นผงสีขาวบริเวณใต้ใบ อาการอื่น จะพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นเตี้ยแคระแกร็น ข้อถี่ ไม่ติดฝัก หรือมีฝักที่ติดเมล็ดน้อย/ไม่ติดเมล็ด (ข้าวโพดฟันหลอ) ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ **ข้าวโพดอายุ 1- 3 สัปดาห์

ทำนาแบบตัดตอซัง

ทำนาแบบตัดตอซัง ลดต้นทุน ลดเวลาปลูก ผลผลิตเยี่ยม ข้อมูลโดย : คุณอนันต์ ปรางค์โท้ เกษตรตำบลเทพนคร วิธีการตัดตอซัง 1.หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ให้รีบตัดตอซังภายใน 7 วัน โดยตัดตอข้าวให้สูงเพียง 5-10 ซม. และตีกระจายฟางข้าวให้ทั่ว 2.ปล่อยน้ำเข้าแปลง โดยพิจารณา ดังนี้ 3.การใส่ปุ๋ย

โรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง สาเหตุ เชื้อราหลายชนิด โดยมีเชื้อราสาเหตุหลัก 6 ชนิด ได้แก่Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Bipolaris oryzae, Fusarium semitectum, Trichoconis padwickii และ Sarocladium oryzae ลักษณะอาการในระยะออกรวง พบแผลจุดสีต่าง ๆ เช่น จุดสีน้ำตาลหรือดำลายสีน้ำตาลดำหรือสีเทาปนชมพูที่เมล็ดข้าว การเข้าทำลายของเชื้อรา มักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าว เริ่มเป็นน้ำนม อาการเมล็ดด่าง จะชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว การแพร่กระจายเชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม น้ำ ติดไปกับเมล็ดพันธุ์และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้ เชื้อราสาเหตุบางชนิดสามารถสร้างสารพิษ (toxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ แนวทางการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงบั่ว

แมลงบั่ว

แมลงบั่ว ตัวเต็มวัยแมลงบั่ว คล้ายยุงหรือตัวริ้น วางไข่เดี่ยวหรือกลุ่ม 3-4 ฟอง ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอมสีชมพูอ่อน ตัวหนอนคล้ายหนอนแมลงวัน หัวท้ายเรียว ตัวหนอนมี 3 ระยะ (วงจรชีวิตของแมลงบั่ว 25-30 วัน) การเข้าทำลาย แมลงบั่วจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะกล้า (ข้าวอายุ 1 เดือน) โดยบินเข้าหาแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวหนอนเข้าไปเจริญเติบโตในกาบใบข้าว ทำลายยอดข้าว ทำให้ใบข้าวมีลักษณะหลอด เรียกว่า “หลอดบั่ว” หรือ “หลอดหอม” แนวทางป้องกันกำจัด หากพบการระบาดรุนแรง แนะนำใช้สารเคมีกำจัดแมลง ผสมตามคำแนะนำและอัตราการใช้ในฉลาก สามารถผสมสารจับใบ โดยต้องสลับกลุ่มสารเคมีทุกการพ่น 2 ครั้ง และใช้สารเคมี 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อป้องกันการดื้อยา ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ฺBrown Planthopper)

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ฺBrown Planthopper)

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ฺBrown Planthopper) ลักษณะการทำลายระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง ตั้งแต่ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย สามารถทำลายต้นข้าวได้อย่างรุนแรง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลือง เหี่ยวแล้ว แห้งเป็นสีน้ำตาลแก่คล้ายน้ำร้อนลวกที่เรียกว่า hopper burn ต้นกล้า และต้นข้าวที่กำลังแตกกอที่ถูกทำลายจะแห้งตาย ต้นข้าวที่ออกรวงแล้วจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ และมีน้ำหนักเบา ล้มง่าย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพบมากในพันธุ์ข้าวที่ต้นเตี้ยและแตกกอมาก เนื่องจากมีจำนวนต้นข้าวให้แมลงดูดกินมาก และจะระบาดรุนแรงในระหว่างเดือนที่มีอากาศร้อน ความชื้นสูง เช่น เดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม นอกจากการทำลายข้าวโดยตรงแล้ว แมลงชนิดนี้ยังเป็นพาหะนำโรคใบหงิก (ragged stunt) และโรคเขียวเตี้ย (grassy stunt) มาสู่ต้นข้าว เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก เรียบเรียง : สนง.เกษตรอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โรคใบจุดและเน่าเละ

โรคใบจุดและเน่าเละ

โรคใบจุดและเน่าเละ สาเหตุจากเชื้อรา : Cercospora lactucae-sativae ลักษณะการทำลายทำลายผลผลิตผักสลัดทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง เช่น กรีนคอส บัตเตอร์เฮด โดยเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ ถ้าอาการรุนแรงแผลจะลามขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หากเกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอ การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : สนง.เกษตรอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โรคไหม้ข้าว

โรคไหม้ข้าว

โรคไหม้ข้าว ระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท