ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ขอเชิญเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2568 วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ เครือข่าย ศพก. เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปลูกข้าวนาปรัง…ระวังหนาว หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน หรือจัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง-ออกรวง ระยะตั้งท้อง-ออกรวงต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือส้มใบแห้งตายจากขอบใบ มักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง พันธุ์ข้าวที่คอรวงสั้น รวงข้าวส่วนนึงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธง ทำให้ไม่มีการผสมเกสรเกิดเมล็ดลีบ ออกรวงช้า รวงไม่สม่ำเสมอก้านช่อดอกหดสั้น เกสรตัวผู้เป็นหมัน ทำให้เมล็ดไม่เต็ม ปลายรวงลีบฝ่อ ระยะกล้า-แตกกอเมล็ดข้าวงอกช้า การเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย ไม่แตกกอ ซีดเหลือง ใบมีสีเหลือง

เรียนฟรี ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดรับสมัครโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” รอบใหม่ ประจำปี 2568 ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง

ขอเชิญพี่น้องชาวกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมสนุกกับกิจกรรม “DOAE ผ้าไทยใครใส่ก็ดูดี ปี 3 ” ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 2568 โพสต์ภาพสวมใส่ผ้าไทยพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ ชิงรางวัลพิเศษ กติการ่วมสนุก 1. ส่งภาพการแต่งกายผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ของท่าน มายัง>> https://forms.gle/sU2NNwemVnef9Fi89  โดยภาพที่โพสต์ ท่านสามารถครีเอทท่าทาง ตกแต่งภาพได้ไม่จำกัดไอเดีย ไม่จำกัดจำนวนคนในภาพ ใส่แคปชั่นเก๋ ๆ ในภาพได้

มะม่วงน้ำดอกไม้ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (GI) มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่มีทรงผลรี เปลือกผิวบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองอมส้ม ปริมาณเส้นใยน้อย เมล็ดลีบ ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็นของจังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว” เมื่อ 3 พ.ค. 2562

โรคจุดดำ หรือ โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญและเกือบทุกส่วนของมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดอาการเป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยวและร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่าร่วงตลอดจนผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว แนวทางการป้องกันแก้ไข

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ศัตรูมะพร้าวและการป้องกัน” ปัจจุบันมีศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดและเป็นปัญหาในการปลูกมะพร้าว จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว และด้วงงวงมะพร้าว สำหรับการจัดการศัตรูมะพร้าว เพื่อให้ได้ผลดีและไม่ให้กลับมาระบาดใหม่ ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เพื่อลดปริมาณศัตรูมะพร้าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานคลิกอ่าน : https://bit.ly/2FUDSWS หนอนหัวดำคลิกอ่าน :

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “เรื่องเล่า…ชาวกาแฟ กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกที่จะต้องดื่ม บางคนดื่มเพราะความเคยชิน บางคนดื่มเพื่อผ่อนคลาย บางคนดื่มเพราะจะทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า “กาแฟ” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สายพันธุ์ที่นิยมในประเทศไทย 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอะราบิกาและกาแฟโรบัสตา เมื่อเปรียบเทียบลักษณะเมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์ อยากรู้เรื่องราวของกาแฟมากขึ้น คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ เรื่องเล่า…ชาวกาแฟคลิกอ่าน : https://bit.ly/4hmR8PA การผลิตกาแฟอะราบิกา

หนอนแมลงวันพริก การทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทำลายตาม ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ฤดูการระบาดสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเตือนผู้ปลูกพริก ในระยะเก็บเกี่ยว รับมือแมลงวันทองพริก ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี ไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่าร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช


ชัยนาท ส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อย “ถั่วเขียวผิวมัน” ทดแทนการทำนาปรัง ลดเสี่ยงขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง

ข้อดีการปลูกถั่วเขียวพืชใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง

  • เนื่องจากพื้นที่นอกเขตชลประทานส่วนใหญ่มักขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง แต่ดินยังสามารถเก็บความชื้นได้ จึงเหมาะสมในการปลูกถั่วเขียวผิวมัน อีกทั้งถั่วเขียวเป็นพืชที่เพาะปลูกง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่น อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว ประมาณ 65-70 วัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย ตลอดจนมีพ่อค้ามารับซื้อแหล่งผลิต

เทคนิคการเพิ่มผลผลิต “ถั่วเขียวผิวมัน” ในช่วงฤดูแล้ง

  • การปลูกถั่วเขียวในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรจังหวัดชัยนาท นิยมปลูกในพื้้นที่่นาหลังจากเก็บเกี่่ยวข้าวนาปีแล้ว ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม โดยทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวทันทีขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ เพราะจะได้อาศัยปริมาณน้ำในดินสำหรับการงอกและใช้น้ำค้างในการเจริญเติบโตแทนการใช้น้ำชลประทาน
  • เทคนิคการปลูกถั่วเขียว หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปี เกษตรกรจะสูบน้ำเข้าในพื้นที่่และขังน้ำไว้ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นสูบน้ำออกให้หมดแล้วปล่อยพื้นที่่ไว้ 3-4 วัน จึงทำการไถแปร ทิ้งไว้ 1 วัน จึงหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วไถกลบ เทคนิคนี้จะทำให้ดินมีความชื้นที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดถั่ว ได้ต้นถั่วจำนวนมาก
  • เทคนิคการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัดชัยนาท จะยังไม่ทำการเก็บเกี่ยวในฝักแก่รุ่นแรก โดยปล่อยให้ถั่วเขียวออกฝักไปถึงรุ่นสองหรือรุ่นสามจึงเก็บเกี่ยวซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตดี และมีปริมาณมากขึ้น

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตร
ปีที่ 57 ฉบับที่ 313 เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566

ถั่วเขียวผิวมัน

ถั่วเขียวผิวมัน