ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

วันที่ 13 มกราคม 2568 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ชิ้น เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๒๖,๔๖๙ วัน เป็นสมมงคล พระชนมายุเท่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล

นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล

วันที่ 31 มกราคม 2567 นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา โครงสร้าง พันธกิจ ภารกิจ บทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อใช้ในการทำรายงานในรายวิชาที่กำลังศึกษา ณ ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร

เรียนรู้ “การปลูกผักสำหรับคนเมือง” ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร

เรียนรู้ "การปลูกผักสำหรับคนเมือง" ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร

ทำการเกษตรในเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว จัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมือง” เจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ ณ ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเรียนรู้รูปแบบการส่งเสริมการเกษตรในเมือง ในประเด็น “การปลูกผักสำหรับคนเมือง” นับเป็นการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มพื้นที่สีเขียว สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของคนในเมือง ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้จัดกิจกรรมผลิตสื่อรณรงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ประเด็น “การปลูกผักสำหรับคนเมือง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับรู้ เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบการเกษตรในเมือง หรือการทำการเกษตรในพื้นที่จำกัด อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเกษตรในเมือง เป็น 1 ใน 9 แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มุ่งส่งเสริมการทำการเกษตรแก่คนในเมืองให้มีความรู้และทักษะด้านการเกษตร เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และสร้างรายได้ จัดการพื้นที่เพื่อทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของคนในเมือง เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองและความต้องการอาหารปลอดภัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภายใต้กิจกรรมดังกล่าวมีการจัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับการปลูกผักเพื่อบริโภคเอง โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การปลูกผักแบบแนวตั้ง การใช้ภาชนะแขวน ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์หรือการปลูกแบบใช้น้ำ ปลูกในกระถาง ภาชนะหรือของเหลือใช้ ปลูกเป็นซุ้ม และการเพาะผักงอก เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานใกล้เคียง ประชาชนและผู้มารับบริการจำนวนมาก ทั้งนี้ นิทรรศการดังกล่าวยังจัดแสดงและเผยแพร่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2566 ผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ที่ ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเผยแพร่เป็นวิดีทัศน์ผ่านสื่อออนไลน์ ในเรื่องภาพรวมและความสำคัญของไม้ดอกไม้ประดับ มูลค่าการจำหน่ายและตัวเลขการผลิต การลดการนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับด้วยการส่งเสริมการปลูกเองภายในประเทศ เช่น กุหลาบ เบญจมาศ การให้ความสำคัญและส่งเสริมไม้ดอกไม้ประดับพื้นถิ่น เช่น มะลิ พุด รวมถึงการทำการตลาดและสร้างการรับรู้ให้ต่างชาติรู้จักไม้ดอกไม้ประดับของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตไม้ดอกไม้ประดับให้มีประสิทธิภาพ ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์