ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สงกรานต์นี้เติมความสุขให้ครอบครัว ด้วยสินค้าเกษตรคุณภาพ สด ใหม่ ส่งตรงจากเกษตรกรทั่วไทย ที่ www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com

สงกรานต์นี้เที่ยวไหนดี …. พาครอบครัวมาชม ช้อป ชิม แชะ กันได้ที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวในทั่วทุกภาคนะคะ

ระวัง! โรค-แมลงศัตรูมันสำปะหลัง โรคใบด่างมันสำปะหลัง เชื้อสาเหตุ : เชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) การแพร่ระบาด : ท่อนพันธุ์และแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ อาการ : ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม

กรมส่งเสริมการเกษตรขอเชิญชวนผู้ให้บริการทางการเกษตร ขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการทางการเกษตร (Agri Service Provider) ผ่านแอปพลิเคชัน Agri Service Provider และระบบออนไลน์ https://emachine.doae.go.th หรือสมัครด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งใกล้บ้าน ทิศทางการพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรยุคใหม่ที่ต้องการเข้าถึงเทคโนโลยีและบริการทางการเกษตรที่ทันสมัยและมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม นับเป็นนโยบายจาก ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้ให้บริการทางการเกษตรทั่วประเทศ โดยเกษตรกรได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเกษตรโดยไม่ต้องลงทุนเอง ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานภาคการเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ในขณะที่ผู้ให้บริการทางการเกษตรจะได้รับประโยชน์จากการขยายธุรกิจและสร้างรายได้ที่มั่นคง

ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม เหนียวหวานชมพู ลักษณะเด่น วิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เมษายน ; 2568

เพลี้ยไฟในมะม่วง (Chilli thrips) ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด *ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง พบในดินลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่าง ๆ และมนุษย์ สามารถทำให้เกิดโรคในแมลงได้หลายชนิด การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมตาไรเซียมเมื่อสปอร์ของเชื้อราเมตาไรเซียมสัมผัสหรือติดไปกับตัว ในสภาพความชื้นสูง เชื้อราจะงอกเป็นเส้นใยและแทงทะลุผ่านผนังลำตัวแมลงและเจริญเพิ่มปริมาณภายในลำตัวแมลง ทำให้แมลงเคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร และตายภายใน 7-9

ปุ๋ยแคลเซียมในพืช (Calcium) แคลเซียมไอออน  (Ca2+) บทบาทของแคลเซียมในพืช อาการเมื่อพืชขาดแคลเซียม แหล่งของแคลเซียมที่ใช้ในการเกษตร 1.แคลเซียมไนเตรท (Ca(NO3)2) 2.แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) **เคล็ดลับ : ควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้แคลเซียม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบำรุงพืช เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีนาคม ; 2568

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้ง” เคล็ดไม่ลับ!! การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นให้ผ่านช่วงหน้าแล้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช รวมถึงการใส่ปุ๋ย ต้องจัดการอย่างไร วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM15ct 10 พืชใช้น้ำน้อยปลูกได้ในฤดูแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM1fR7 เข้าดูเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/3Vc44if

เตรียมความพร้อมก่อนปลูกไม้ผล 1.เลือกชนิดไม้ผลที่จะปลูก 2.เลือกพันธุ์ที่ได้เปรียบทางการตลาดเก็บเกี่ยวก่อนหรือหลังพันธุ์อื่น ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ 3.เลือกกิ่งพันธุ์เลือกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงจากแหล่งที่เชื่อถือได้, อายุไม่เกิน 1 ปี กรณีเป็นกิ่งเสียบหรือกิ่งทาบ รอยประสานของแผลต้องเชื่อมสนิทกันดี, กรณีใช้เป็นต้นตอควรเป็นต้นตอที่สามารถปรับตัวได้กว้างและทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี 4.ออกแบบผังการปลูกไม้ผล 5.การปลูกและดูแลรักษา เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยเทคโนโลยีรังสี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

หลักเกณฑ์การให้บริการเอกสารเผยแพร่คำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุโดยศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร​

“ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการสื่อเอกสารเผยแพร่คำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานภายนอก เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ“

ขั้นตอนการขอรับบริการศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

บุคคลทั่วไป / เกษตรกร

ขั้นตอนที่ 1

ตรวจสอบรายชื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ จากแฟ้มรายชื่อที่เคาท์เตอร์บริการ หรือที่เว็บไซต์ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร https://esc.doae.go.th/สื่อที่ให้บริการ/รายการสื่อที่ให้บริการ

ขั้นตอนที่ 2

กรอกรายชื่อและจำนวนของเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ที่ต้องการ ลงในแบบฟอร์มลงทะเบียนรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 3

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสต ฯ ให้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4

ผู้ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ตรวจสอบและลงนามรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 5

กรอกแบบฟอร์มประเมินความพึงพอใจ

หน่วยงานราชการ

ให้ทำหนังสือจากต้นสังกัดเพื่อขอรับบริการสื่อ

  • กรณีถือหนังสือจากต้นสังกัดมาด้วยตนเอง สามาถนำหนังสือมายื่นที่ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ตึกโรงพิมพ์ ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร 
  • กรณีส่งหนังสือจากต้นสังกัดมาตามระบบ ติดตามหนังสือที่หมายเลข 02-5795517
  • สามารถส่ง FAX เอกสารที่ขอรับบริการมาล่วงหน้าได้ที่หมายเลข 02-5795517 หรือ INBOX แจ้งในเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/esc.agri.ext เพื่อให้จัดเอกสารล่วงหน้า
ขั้นตอนที่ 1

นำหนังสือมายื่นที่เคาเตอร์เพื่อขอรับบริการสื่อ จากนั้นตรวจสอบรายชื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ จากแฟ้มรายชื่อที่เคาท์เตอร์บริการ หรือที่เว็บไซต์ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร https://esc.doae.go.th/สื่อที่ให้บริการ/รายการสื่อที่ให้บริการ

ขั้นตอนที่ 2

กรอกรายชื่อและจำนวนของเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ที่ต้องการ ลงในแบบฟอร์มลงทะเบียนรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 3

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสต ฯ ให้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4

ผู้ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ตรวจสอบและลงนามรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 5

กรอกแบบฟอร์มประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ :

  1. จำนวนของสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ ที่จะจัดสรรให้นั้น พิจารณาจากวัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้ในกิจกรรมใดจำนวนบุคคลเป้าหมายในกิจกรรมนั้น ๆ จำนวนสื่อที่มีอยู่คงเหลือ เป็นต้น
  2. หากไม่มีหนังสือราชการขอรับเอกสารคำแนะนำ/สื่อโสตทัศนวัสดุ ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรจะพิจารณา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  02-5795517 หรือ INBOX เฟซบุ๊กศูนยวิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร