ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันแและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ประกาศลงวันที่ 17 มกราคม 2568

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

Salicylic acid สารที่สามารถชะลอการเจริญของเชื้อรา

Salicylic acid สารที่สามารถชะลอการเจริญของเชื้อรา

Salicylic acid สารที่สามารถชะลอการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) ในมะม่วงได้ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ที่มักจะเป็นปัญหาในมะม่วง โดยเข้าทำลายและแสดงอาการของโรคหลังการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้มะม่วงเสียคุณภาพ และสร้างความเสียหายได้ การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม และโพรคลอราซเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดสาเหตุของโรคได้ แต่การพัฒนาแนวทางการควบคุมโรคอย่างปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะแนวทางในการกระตุ้นให้เกิด ความต้านทาน ซึ่งการตอบสนองของพืชต่อการเกิดความต้านทานมีความหลากหลายขึ้นกับชนิดของสารกระตุ้น

แนวทางการจัดการโรคเหี่ยวสับปะรด

แนวทางการจัดการโรคเหี่ยวสับปะรด

แนวทางการจัดการโรคเหี่ยวสับปะรด ลักษณะอาการ การแพร่กระจาย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

ศัตรูลำไย ลิ้นจี่

ศัตรูลำไย ลิ้นจี่

ศัตรูลำไย ลิ้นจี่ หนอนเจาะขั้วผล หนอนจะเข้าทำลายผล 2 ระยะ คือ ระยะ แรกเริ่มติดผลประมาณ 1.5-2 เดือน จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในเมล็ด มองดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทำลาย เมื่อผ่าดูจะเห็นรอยทำลายทำให้ผลไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และร่วงหล่นหมด ระยะที่สองเมื่อขนาดผลโต หนอนจะเจาะกินบริเวณขั้วผลจะพบรูเล็ก ๆ ปรากฎอยู่ซึ่งเป็นรูที่หนอนเจาะออกมาเข้าดักแด้อยู่ภายนอก มวนลำไย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบอ่อน และช่อดอก แห้งและร่วง พบการระบาดเป็นประจำทุกปี ทำความเสียหายให้กับลิ้นจี่ และลำไย ในระยะที่ออกดอกและติดผล จำนวนไข่ และตัวอ่อน มีปริมาณสูงสุดเดือนมีนาคมและเมษายน ตัวเต็มวัยพบปริมาณสูงสุด 2 ระยะ คือ เดือนกุมภาพันธ์ และกรกฎาคม ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยเทคโนโลยีรังสี กองส่่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ศัตรูพืชที่ติดไปกับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

ศัตรูพืชที่ติดไปกับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

ศัตรูพืชที่ติดไปกับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง โรคใบด่างมันสำปะหลัง โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

แมลงศัตรูมะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย