ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

“หลักสูตรการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช” ในรูปแบบออนไลน์ ในวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องถ่ายทอดออนไลน์ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา รับแค่ 50 คน เท่านั้น แสกนคิวอาร์โค้ดเพื่อสมัคร/รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

โรคโคนเน่า หัวเน่าในมันสำปะหลัง ลักษณะอาการพบอาการใบเหลือง เหี่ยว และร่วง โคนต้นแสดงอาการเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ บางพันธุ์ เช่น พันธุ์ห้วยบง 60 พบอาการโคนต้นบริเวณคอดินแตก เมื่อขุดดูพบหัวมันสำปะหลังเน่า ผ่าดูภายในเป็นสีน้ำตาล หากอาการรุนแรง ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่

โรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพารา ลักษณะอาการอาการเริ่มแรกเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบและด้านบนของใบบริเวณเดียวกัน จะเป็นสีเหลืองกลม ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้ง สีน้ำตาลจนถึงขีดขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนมากกว่า 1 จุด อาจจะซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่ออาการรุนแรงเกิดใบเหลืองและร่วง เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่

ผลกระทบจากภัยแล้งในทุเรียน สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่ เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในทุกระยะการเจริญเติบโต เตรียมรับมือผลกระทบจากภัยแล้ง เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่

ไรแดงมันสำปะหลัง ลักษณะการทำลายไรแดง เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ที่มักพบการระบาดในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง โดยไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้สูญเสียคลอโรฟิลล์ หากระบาดรุนแรงจะเคลื่อนย้ายไปบนยอดอ่อน สร้างเส้นใยปกคลุมใบและลำต้น ทำให้ผิวใบด้านบนเป็นจุดด่างประ สีเหลืองซีด ยอดไหม้ ใบเหี่ยวแห้ง และร่วง หากพ่นสารป้องกันกำจัดไรได้ทัน จะสามารถยับยั้งการระบาดได้ เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่

แมลงหวี่ขาวยาสูบ ลักษณะการทำลายแมลงหวี่ขาวสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ และยอดอ่อนของพืช การทำลายของตัวอ่อน ทำให้เกิดเป็นจุดสีเหลืองบนใบพืช ใบหงิกงอขอบใบม้วนลงด้านล่าง ต้นแคระแกร็น และเหี่ยว หากพบทำลายในปริมาณมากอาจทำให้พืชตายได้ นอกจากนี้ยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัส สาเหตุโรคใบด่างในพืชต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลง เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่

เพลี้ยไฟ ในพืชตระกูลส้ม (มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน แห้งแล้ง เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะติดผลอ่อน – ระยะพัฒนาผล ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและผลอ่อน ทำให้ใบมีลักษณะผิดปกติ ใบแคบเรียว กร้าน

แนะนำนิตยสารใหม่ เดือนพฤษภาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) หรือที่ : http://library.doae.go.th โทรศัพท์ 0-2579-2594โทรสาร 0-2579-5517

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรมีความเป็นเลิศทางด้านการเป็นคลังความรู้และการให้บริการสารสนเทศด้านการเกษตรและอื่นๆ ที่ทันสมัย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ค้นหาข้อมูล

กรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ที่ช่องค้นหาข้อมูล

เลื่อนไปทางซ้าย – ขวา เพื่ออ่านเรื่องถัดไป

ข่าวประชาสัมพันธ์

ศูนย์ข้อมูลองค์ความรู้ด้านการเกษตร

คลังหนังสือออนไลน์

รวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้และข้อมูลด้านการเกษตร ให้บริการในรูปแบบหนังสือ e-Book และไฟล์ PDF.

คลังหนังสือออนไลน์

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ห้องสมุด (e-Library) สามารถสืบค้น/ยืม หนังสือ นิตยสาร และวารสารของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานภายนอกได้

เข้าสู่ระบบห้องสมุด

เรื่องนี้มีคำตอบ

รวมประเด็นคำถามสำคัญ งานตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เกษตรกรควรรู้

เรื่องนี้มีคำตอบ

Flipbook

แหล่งรวมหนังสือ e-Book และแผ่นพับ ในรูปแบบ Flipbook

เข้าชม Flipbook

แมลงหวี่ขาวยาสูบมะเขือเปราะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา https://www.facebook.com/Sikhio.doae2563

รับมือโรคพืชในช่วงฤดูฝน จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา https://www.facebook.com/profile.php?id=100068931140391

เพลี้ยไฟในนาข้าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลกhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207

ด้วงหมัดผัก จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

โรคใบจุดสีดำถั่วลิสง จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา https://www.facebook.com/Sikhio.doae2563

โรคเน่าคอดิน จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

Share this:

Like this:

Like Loading...