ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

ปลูกแตงโมหลังทำนา สร้างอาชีพ การเตรียมดินไถดะตากดิน 7 วัน และไถพรวนยกร่อง ระยะปลูก 40-50 เซนติเมตร ระยะแถว 3 เมตร ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ พ่นไตรโคเดอร์มา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนมกราคม 2568 ฟรี วันที่ 7 มกราคม 2568วันที่ 8 มกราคม 2568วันที่ 9 มกราคม 2568 หลักสูตร พืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ได้แก่1.การผลิตต้นพันธุ์ พริกเดือยไก่

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หลักเกณฑ์การให้บริการเอกสารเผยแพร่คำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุโดยศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร​

“ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการสื่อเอกสารเผยแพร่คำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานภายนอก เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ“

ขั้นตอนการขอรับบริการศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

บุคคลทั่วไป / เกษตรกร

ขั้นตอนที่ 1

ตรวจสอบรายชื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ จากแฟ้มรายชื่อที่เคาท์เตอร์บริการ หรือที่เว็บไซต์ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร https://esc.doae.go.th/สื่อที่ให้บริการ/รายการสื่อที่ให้บริการ

ขั้นตอนที่ 2

กรอกรายชื่อและจำนวนของเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ที่ต้องการ ลงในแบบฟอร์มลงทะเบียนรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 3

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสต ฯ ให้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4

ผู้ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ตรวจสอบและลงนามรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 5

กรอกแบบฟอร์มประเมินความพึงพอใจ

หน่วยงานราชการ

ให้ทำหนังสือจากต้นสังกัดเพื่อขอรับบริการสื่อ

  • กรณีถือหนังสือจากต้นสังกัดมาด้วยตนเอง สามาถนำหนังสือมายื่นที่ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ตึกโรงพิมพ์ ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร 
  • กรณีส่งหนังสือจากต้นสังกัดมาตามระบบ ติดตามหนังสือที่หมายเลข 02-5795517
  • สามารถส่ง FAX เอกสารที่ขอรับบริการมาล่วงหน้าได้ที่หมายเลข 02-5795517 หรือ INBOX แจ้งในเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/esc.agri.ext เพื่อให้จัดเอกสารล่วงหน้า
ขั้นตอนที่ 1

นำหนังสือมายื่นที่เคาเตอร์เพื่อขอรับบริการสื่อ จากนั้นตรวจสอบรายชื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ จากแฟ้มรายชื่อที่เคาท์เตอร์บริการ หรือที่เว็บไซต์ของศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร https://esc.doae.go.th/สื่อที่ให้บริการ/รายการสื่อที่ให้บริการ

ขั้นตอนที่ 2

กรอกรายชื่อและจำนวนของเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ที่ต้องการ ลงในแบบฟอร์มลงทะเบียนรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 3

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสต ฯ ให้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4

ผู้ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตฯ ตรวจสอบและลงนามรับสื่อฯ

ขั้นตอนที่ 5

กรอกแบบฟอร์มประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ :

  1. จำนวนของสื่อเอกสารคำแนะนำและสื่อโสตทัศนวัสดุ ที่จะจัดสรรให้นั้น พิจารณาจากวัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้ในกิจกรรมใดจำนวนบุคคลเป้าหมายในกิจกรรมนั้น ๆ จำนวนสื่อที่มีอยู่คงเหลือ เป็นต้น
  2. หากไม่มีหนังสือราชการขอรับเอกสารคำแนะนำ/สื่อโสตทัศนวัสดุ ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรจะพิจารณา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  02-5795517 หรือ INBOX เฟซบุ๊กศูนยวิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร