หนอนปลอกข้าว
ตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก
ลักษณะและการระบาด
- หนอนเมื่อออกจากไข่จะกัดกินผิวใบอ่อนของข้าวและจะทำปลอกหุ้มลำตัวไว้ภายใน 2 วันต่อมา
- เพศเมียตอนกลางวันชอบหลบอยู่ในนาข้าวและวางไข่ตอนกลางคืนเป็นแถว 1-2 แถว ติดกันบนผิวใต้ใบข้าวหรือก้านใบเหนือระดับน้ำ
- ตัวหนอนสามารถเคลื่อนย้ายไปทำลายข้าวต้นอื่น โดยอาศัยปลอกลอยน้ำไปยังข้าวต้นใหม่
- มักพบระบากเฉพาะแปลงข้าวที่มีน้ำขัง ในชลประทานและนาที่ลุ่มอาศัยน้ำฝน
- ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโตแคระแกร็น และแห้งตายเป็นหย่อม ๆ
การป้องกันและกำจัด
1. ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว เพราะหนอนจะระบาดโดยปลอกลอยไปตามน้ำ ถ้าเอาน้ำออก หนอนก็จะระบาดไม่ได้
2. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อตรวจพบใบถูกทำลายมากกว่า 15% หรือพบใบห่อ 6-8 ใบ ต่อ 10 ต้น
– สารเบนซันแทป (แบนคอล 50% ดับบลิวพี) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
– ฟิโพรนิล (แอสเซ็นต์ 5% เอสซี) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร