ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ส่งดอกไม้ ส่งรอยยิ้ม ดอกไม้วาเลนไทน์ความหมายดี ดอกไฮเดรนเยียขอบคุณที่อยู่เคียงข้างกันร่วมทุกข์ร่วมสุขมาโดยตลอด ดอกทิวลิปความรักที่มั่นคง ซื่อสัตย์ จริงใจ และจริงจังต่อผู้รับแบบสุดหัวใจ ดอกคาร์เนชั่นสีแดงรับความรักและความหวังดีของฉันไปเถอะนะ ดอกลิลลี่สีขาวสื่อถึงความรักอันบริสุทธิ์ แต่จะเพิ่มความนุ่มนวล อ่อนหวานและการบอกเป็นภาษาดอกไม้ว่าฉันอยากใช้เวลาอยู่ข้าง ๆ คุณไปนาน ๆ ดอกคัตเตอร์แม้คุณจะมองไม่เห็นฉันก็ไม่เป็นอะไร แต่ฉันก็จะรักและมีเพียงคุณเท่านั้น ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตรักแท้ เป็นความทรงจำของความรักที่คุณไม่อยากให้อีกฝ่ายลืม และคุณจะซื่อสัตย์กับเขาไปตลอดกาล ดอกบัทเทอร์คัพคุณมีความรู้สึกดี ๆ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ครั้งที่ 2/2568 ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร กิจกรรมด้านคลินิกเกษตรที่เปิดให้บริการ ได้แก่ กิจกรรมประกวดผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ชิงรางวัลเงินสด พร้อมใบประกาศนียบัตร กิจกรรมการแข่งขันของกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

เมื่อไม่ให้เผา…เราทำอย่างไร?? 9 ทางเลือกสู่ทางรอด 1.ผลิตปุ๋ยหมักนำเศษวัสดุการเกษตรที่เหลือใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก 2.วัสดุอัดก้อนจัดเก็บง่าย มีรายได้เสริม จำหน่ายได้ตลอดปี 3.ไถกลบตอซังทำลายไข่แมลง เชื้อโรคในดิน เพิ่มประสิทธิภาพการดูดธาตุอาหารและลดปัญหาวัชพืช 4.อาหารสัตว์เป็นอาหารเสริมให้โคกระบือ ลดต้นทุนอาหารสัตว์ 5.เพาะเห็ดมีอาหาร สร้างรายได้ 6.พลังงานทดแทนมีรายได้เสริม จากถ่านลดต้นทุนเชื้อเพลิง 7.วัสดุคลุมดินรักษาความชื้นของดิน ลดการชะล้างผิวหน้าดิน เมื่อวัสดุคลุมดินสลายตัว จะได้อินทรีย์วัตถุบำรุงดิน 8.แปรรูปเพิ่มมูลค่านำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในไม้ผลช่วงอากาศหนาว ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง พยากรณ์อากาศภาคเหนือช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2568 ในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณภาคเหนือตอนบนมีความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว และความชื้นในอากาศยังคงมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสนิม ราดำราแป้งและเพลี้ยแป้ง การจัดการและแนวทางป้องกัน การตรวจสอบและเฝ้าระวัง : ควรตรวจสอบพืชอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถพบการระบาดของโรคหรือแมลงตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะช่วยลดความเสียหาย การป้องกันโดยวิธีธรรมชาติ :

เกษตรกร โปรดทราบ! ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ภาคการเกษตร ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2568 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568) กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมในทุกจังหวัดอย่างเข้มงวด ขอความร่วมมือเกษตรกรทุกจังหวัดทำการเกษตรแบบปลอดการเผา

กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1 คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม วิธีการปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในเดือนแรกอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น การไว้หน่อ หลังจากปลูกกล้วย

เกษตรกรไทยร่วมใจหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืน ด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยวและส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล พืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง เช่น กาแฟ อะโวคาโด

“14 กุมภา วันวาเลนไทน์ ดอกไม้แทนใจ” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ กรมส่งเสริมการเกษตรมีความหมายดี ๆ ของดอกไม้แทนใจ มาฝากพร้อมกับ 4 เมนูที่สามารถทำได้ในช่วงวันวาเลนไทน์ค่ะ 14 กุมภาวันวาเลนไทน์ ดอกไม้แทนใจความหมายดี ๆคลิกอ่าน : https://bit.ly/4jID4T7 4 เมนูฮิตสุดปัง

4 เมนูฮิตสุดปัง ต้อนรับ Valentine’s Day ทางเลือกการสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร แยมกุหลาบ ส่วนผสม ดอกกุหลาบ 500 กรัม เลม่อน 2 ผล น้ำเปล่า 1 ลิตร น้ำตาลทราย 500 กรัม แพคติน 1

โรคราน้ำค้างพืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด

โรคราน้ำค้างพืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด

เป็นโรคพืชที่พบการระบาดมากในช่วงอากาศเย็น ความชื้นสูง และฝนตกชุก เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคสามารถแพร่ระบาดได้ดีโดย ลม น้ำฝน เครื่องมือทางการเกษตร การเคลื่อนย้ายพืชปลูก และจะเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ความชื้นในแปลงสูง หากเข้าทำลายพืชปลูกจะสร้างความเสียหายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จะทำให้ผลผลิตพืชลดลง รวมถึงขนาดและคุณภาพลดลง หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น นอกจากนี้โรคราน้ำค้างยังสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด เป็นต้น ส่วนข้อสังเกตของโรคราน้ำค้าง พบว่าในช่วงเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง เมื่อพลิกดูใต้ใบพืชมักจะพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้าย และลักษณะอาการโรคของพืชบางชนิด จะถูกจํากัดด้วยเส้นใบ จึงเห็นเป็นจุดแผลรูปสี่เหลี่ยม สำหรับโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรกบนใบปรากฏแผลฉ่ำน้ำ แผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นเป็นรูปเหลี่ยมเล็ก ๆ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาที่แผลบริเวณด้านใต้ใบ แผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง หากเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก และบรอกโคลี เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรกจะเห็นบริเวณด้านบนใบมีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นแผลสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อราลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลบริเวณด้านใต้ใบ ถ้าโรคระบาดรุนแรงแผลจะลามขยายใหญ่ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง หากเป็นโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นกล้าแคระแกร็น หรือตาย โดยในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี หากโรครุนแรงก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง และโรคราน้ำค้างในข้าวโพด เกิดจาเชื้อรา Peronosclerospora sorghi ซึ่งโรคสามารถเกิดได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก โดยพบจุดเล็ก ๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะบริเวณยอด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง มักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากด้านใต้ใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น ข้อถี่ ไม่มีฝัก หรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย โดยข้าวโพดในระยะเริ่มปลูกถึงอายุประมาณ 30 วัน จะอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้าง ด้านแนวทางการป้องกันและกำจัด กรมส่งเสริมการเกษตรมีคำแนะนำเกษตรกร ดังนี้ 1) ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและปราศจากโรค 2) ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20 – 30 นาที หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลกซิล 35% DS อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม 3) ไม่ปลูกพืชระยะชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง 4) กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี 5) หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการของโรครุนแรง พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม 64% + 4% WG อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5 – 7 วัน และ 6) แปลงที่มีการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกพืชซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนทั้งนี้ หากเกษตรกรพบปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชเข้าทำลาย สามารถขอคำแนะนำได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน ภาพจาก : https://doaenews.doae.go.th/archives/25680?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1YnnDKa-vE49HMa8H8rl5I4Fi7NH4F5QaPk8YDtaYWd8-z1hv_Hig4ots_aem_BRabUWR_Srn7ovZ57o3XDg

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า ให้เขย่ากิ่งเงาะ ตัวหนอนคืบจะทิ้งตัวลงที่พื้นดิน สามารถจับทำลายได้ หรือใช้กับดักแสง ไฟล่อตัวเต็มวัยในช่วงกลางคืน (18.00 น. ถึง 20.00 น.) 3.ใช้สารสกัดสะเดา โดยนำเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำสารสะเดาที่ได้ผสมกับสารจับใบไปฉีดพ่นให้ทั่วยอดอ่อนและทรงพุ่ม 4.พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบบริเวณใบอ่อน และทรงพุ่ม ทุก 3-7 วัน 5.พ่นด้วยสารเคมี เช่น carbaryl 85% WP อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี https://www.facebook.com/chanthaburi.doae.go.th/posts/pfbid0VkmMnqb9XtpPSshyVT2PnFA9qGFVRbqhJTmRvKb84CcXTfYDFXBupkdAsxRGb3qhl

โรคไหม้ในข้าว

โรคไหม้ในข้าว

โรคไหม้ (Rice Blast Disease) พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่ ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น การป้องกันกำจัด ใช้พันธุ์ค่อนข้างต้านทานโรค ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโป่งไคร้ น้ำรู ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล (tricyclazone) คาซูกาไมซิน (kasugamycin) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) โพรคลอราซ ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบ (ในภาพรวม พบเฉลี่ย 2-3 แผลต่อใบ) ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล (tricyclazone) คาซูกาไมซิน (kasugamycin) อีดิเฟนฟอส ไอโซโพรไทโอเลน (isoprothiolane) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ตามอัตราที่ระบุ ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอกุยบุรี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZoCwZnGo97oHxDyKUyR1UkNc5Y8kvGFt2bQZb13irgcKnrdJZhaDHCvD2oeJirKUl&id=100007937443903

หนอนด้วงกัดรากข้าว

หนอนด้วงกัดรากข้าว

พบตามโคก ใกล้จอมปลวก หากระบาดมาก พบได้ทั่วทั้งแปลงที่ดินแห้ง ถ้าเจอในนา กัดบริเวณโคนต้น หรือรากข้าว แสดงว่าน้ำในนาแห้ง วิธีป้องกันกำจัด1. เขตกรรม ไขน้ำเข้านา (กรณีมีน้ำเพียงพอ)2. วิธีกล เก็บทำลาย3. ชีววิธี โรยด้วยเชื้อราเมตาไรเซียม4. สารเคมีชนิดหว่านลงดิน (G,GR) – กลุ่ม 2 ฟิโพรนิล – กลุ่ม 14 + 1 คาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ + ฟีโนบูคาร์บ – กลุ่ม 4A ไดโนทีฟูแรน ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์https://www.facebook.com/share/4QtH828jBnFKsnTW/?mibextid=oFDknk

โรคใบจุดตากบ

โรคใบจุดตากบ

โรคใบจุดตากบ มีการเข้าทำลายในทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ ถ้าอาการรุนแรงแผลจะลามขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หากเกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอ เบื้องต้นได้ให้คำแนะนำเกษตรกรในเรื่องของการปรับสภาพดินที่มีอาการค่อนข้างเป็นกรค พร้อมนำเมล็กผักแช่ในเชื้อราไตรโครเดอร์มาก่อนปลูกและรดซ้ำในระหว่างการปลูก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราดังกล่าวต่อไป ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งหว้า สตูล https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VrGLMXhREaGr8JPqxQAyFz5xwznVcXK8yDqvrvTFGFYU3iLau6ziHua9NqwuPCgrl&id=100007766978925