ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (มะพร้าว) 1.หนอนหัวดำมะพร้าวสุ่มนับทางใบที่เขียวสมบูรณ์ แยกระดับความรุนแรงน้อย = ใบเขียวสมบูรณ์ 13 ทางใบขึ้นไปปานกลาง = ใบเขียวสมบูรณ์ 6-13 ทางใบรุนแรง = ใบเขียวสมบูรณ์ น้อยกว่า 6 ทางใบ 2.แมลงดำหนามมะพร้าวสุ่มนับใบยอดที่ถูกทำลาย แยกตามระดับความรุนแรงน้อย = ใบยอดถูกทำลาย 1-5

เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (มันสำปะหลัง) 1.โรคใบด่างมันสำปะหลัง กรณี พบต้นมันสำปะหลัง แสดงอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง กระจายทั่วแปลง ให้ถือว่าพื้นที่ระบาดเท่ากับพื้นที่ปลูก กรณี พบต้นมันสำปะหลัง แสดงอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นหย่อมหรือบริเวณมุมใดมุมหนึ่งของแปลงให้แบ่งขอบเขตแปลงในบริเวณที่เป็นโรค ในรัศมี 20 เมตร จากจุดที่เป็นโรค แล้วจึงคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับพื้นที่ปลูก 2.เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุดสำรวจ จุดละ 1

มวนยุงในฝรั่ง

มวนยุงในฝรั่ง เชื้อสาเหตุ : Helopeltis theivora มวนยุง หรือ มวนยุงชา หรือ มวนโกโก้ อยู่ในวงศ์ Miridae อันดับ Hemiptera เป็นแมลงศัตรู สำคัญของพืชหลายชนิด เช่น ชา โกโก้ อะโวกาโด้ มะม่วงหิมพานต์ เป็นแมลงชนิดปากดูด

โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เชื้อสาเหตุ : Phytophthora palmivora ลักษณะการทำลาย อาการที่กิ่งและที่ลำต้นหรือโคนต้นระยะแรกจะแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อย ๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ทุเรียนใบร่วงจนหมดต้น และยืนต้นแห้งตาย อาการที่รากเริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีด ไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้น

หนอนชอนใบมังคุด

หนอนชอนใบมังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acrocercops sp. และ Phyllocnistis sp. ลักษณะการทำลายAcrocercops sp. ทำลายใบอ่อนที่มีอายุมาก โดยตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะชอนไชกัดกินและขับถ่าย อยู่ในระหว่างผิวใบ รอยทำลายมีลักษณะแผ่กว้างเป็นแผ่นสีดำ เนื่องจากเนื้อเยื่อระหว่างผิวใบตรงส่วนนั้นถูกทำลาย Phyllocnistis sp. ทำลายใบอ่อนมังคุดที่มีอายุน้อย พบการระบาดรุนแรงมากในช่วงที่มังคุดแตกใบอ่อน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะชอนไชเป็นทางยาว หรือสร้างเป็นอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายในรอยทำลายของหนอนชอนใบ ใบมังคุดที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็นบิดเบี้ยว

ตัวอ่อนด้วงดิน

ด้วงดิน (ground beetles) อยู่ในวงศ์ Carabidae ทั้งระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ตัวเต็มวัยบางชนิดสามารถไต่ขึ้นบนต้นพืช เพื่อไปกัดกินศัตรูพืชได้ โดยเกือบทั้งหมดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัยทำลายหนอน ดักแด้ผีเสื้อศัตรูพืช ไข่แมลง มักหากินตอนกลางคืน ตัวอ่อนด้วงดินตัวนี้เจอบ่อยในแปลงข้าวโพดที่มีหนอนกระทู้ข้าวโพดนะบาด ถ้าเจออย่าตกใจ เค้าช่วยกินหนอนให้เรานะคะ ภาพจาก : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี

เป็นโรคพืชที่พบการระบาดมากในช่วงอากาศเย็น ความชื้นสูง และฝนตกชุก เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคสามารถแพร่ระบาดได้ดีโดย ลม น้ำฝน เครื่องมือทางการเกษตร การเคลื่อนย้ายพืชปลูก และจะเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ความชื้นในแปลงสูง หากเข้าทำลายพืชปลูกจะสร้างความเสียหายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จะทำให้ผลผลิตพืชลดลง รวมถึงขนาดและคุณภาพลดลง หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น นอกจากนี้โรคราน้ำค้างยังสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด เป็นต้น ส่วนข้อสังเกตของโรคราน้ำค้าง พบว่าในช่วงเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนพฤศจิกายน 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำเอกสารใหม่ เดือนพฤศจิกายน 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 865 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

โรคใบติดหรือใบไหม้

โรคใบติดหรือใบไหม้

โรคใบติดหรือใบไหม้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solaniอาการของโรคมักพบที่ใบอ่อนก่อน เกิดแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลจะค่อยๆ ขยายตัวลุกลามแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อราจะเจริญลุกลามไปยังใบอื่นๆที่อยู่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรครุนแรงจะแห้ง ร่วงลงไปแตะติดกับใบข้างล่าง และเจริญเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายจุดในต้น ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อมๆ และใบจะค่อยๆร่วงหล่นไปยังโคนต้น การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นอยู่บริเวณใต้โคนและวัชพืชบางชนิด เมื่อฝนตก เชื้อราจะกระเด็นขึ้นมาโดยเม็ดฝน ติดตามใบทุเรียนที่อยู่ต่ำก่อน เกิดอาการแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และเจริญสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่ส่วนขยายพันธุ์ไปยังส่วนอื่นๆ หรือบางครั้งเชื้อก็ติดไปกับมดที่มีอยู่ทั่วไปในสวนทุเรียน ขึ้นไปยังส่วนบนๆของต้น เมื่ออากาศร้อนชื้น มีฝนตกเป็นระยะ การป้องกันกำจัด1.ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดีเป็น

เชื้อจุลินทรีย์ (ชีวภัณฑ์)

เชื้อจุลินทรีย์ (ชีวภัณฑ์)

เชื้อจุลินทรีย์ (ชีวภัณฑ์) ภาพโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก https://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207 ที่มา : https://www.facebook.com/share/b7AwN5oqtHYPD7d3/?mibextid=oFDknk

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02pBhNfk1gg8h2a8X4TbymqPgDcFbjbh7qqs8fXobSsRcZ45AeMuYRMgVqx3ecrC7Rl&id=100009077983081 โรคใบจุดสาหร่าย เกิดจากเชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp. ลักษณะอาการจะมีจุดเล็กหรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (หากลุกลาม) บนใบ โดยจุดเล็กๆ ดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเป็นระยะเวลาติดต่อกันสาหร่ายดังกล่าวจะปกคลุมบนแผ่นใบย่อยปาล์มน้ำมัน ทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง แต่ไม่ทำอันตราย แผ่นใบเหมือนราสนิม (ความแตกต่าง หากเป็นสาหร่าย สามารถทดสอบโดยปิดสก๊อตเทปบนแผ่นใบย่อย และสามารถลอกแผ่นหรือจุดสาหร่ายออกมาได้ง่ายด้วยสก๊อตเทป โดยลักษณะผิวใบยังคงสภาพปกติ แต่หากเป็นราสนิม การปิดสก๊อตเทปบนแผ่นใบจะลอกราสนิมไม่ออก)สำหรับปาล์มน้ำมันหรือพืชอื่นๆ ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ มีความชื้นในทรงพุ่มสูง ได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึง จะพบใบจุดสาหร่ายเกิดได้โดยง่าย จากสปอร์ของสาหร่ายที่แพร่ระบาดไปยังใบอื่นๆ จะระบาดมากช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์ของสาหร่ายสามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางลมแ

ปลวกในไร่อ้อย

ปลวกในไร่อ้อย

ปลวกในไร่อ้อย ปลวกเป็นแมลงที่เข้าทำลายอ้อยได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ท่อนพันธุ์อ้อยตอนปลูก โดยเข้าไปกัดกินอยู่ภายในท่อนพันธุ์ ทำให้อ้อยไม่งอก และแห้งตายไป เมื่ออ้อยโตมีลำแล้วจะเข้าไปกัดตรงระดับต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อยอยู่ภายในลำตันอ้อย ทำเป็นต้นอ้อยเป็นโพรงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ นานเข้าลำต้นอ้อยจะหักล้มลง การเข้าทำลายของปลวกในแหล่งที่มีการระบาดอยู่เสมอมักทำให้ผลผลิตของอ้อยลดลงถึงครึ่งหนึ่ง การระบาดเข้าทำลายอ้อยรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเกิดภาวะแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน การป้องกันกำจัด 1. ไถพรวนดินหลายๆ ครั้งก่อนปลูก เพื่อทำลายรังให้พวกมดและนกเข้าช่วยกินปลวก 2. หากพบปลวกจำนวนมากในแปลง ใช้สารเคมี ฟิโปรนิล ( Fipronil ) 5% W/V SCอัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดไปตามร่องอ้อย หลังจากวางท่อนพันธุ์แล้วกลบดิน 3. ในอ้อยตอ ไม่เผาใบอ้อยและใช้ใบอ้อยคลุมแปลง สามารถลดการเข้าทำลายของปลวกลงได้ 4.การใช้รถแทรกเตอร์ดันทำลายจอมปลวกที่พบในบริเวณแปลงอ้อย แล้วราดด้วยสารเคมีตามข้อ 2 ก็จะช่วยลดประชากรปลวกได้เช่นกัน ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.ph

เพลี้ยไฟในทุเรียน

เพลี้ยไฟในทุเรียน

เพลี้ยไฟในทุเรียน เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทําลายทุเรียนในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้ คำแนะนำในการป้องกันกำจัด ดังนี้ ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid031gQbHJDzarMq4yivb7FAAKpeX8ioBHVLqCaJhbCHBY57rrRAJK3XbFvBuY2bTkspl&id=100013463325204