หนอนด้วงกัดรากข้าว
พบตามโคก ใกล้จอมปลวก หากระบาดมาก พบได้ทั่วทั้งแปลงที่ดินแห้ง ถ้าเจอในนา กัดบริเวณโคนต้น หรือรากข้าว แสดงว่าน้ำในนาแห้ง วิธีป้องกันกำจัด1. เขตกรรม ไขน้ำเข้านา (กรณีมีน้ำเพียงพอ)2. วิธีกล เก็บทำลาย3. ชีววิธี โรยด้วยเชื้อราเมตาไรเซียม4. สารเคมีชนิดหว่านลงดิน (G,GR) – กลุ่ม 2 ฟิโพรนิล – กลุ่ม 14 + 1 คาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ + ฟีโนบูคาร์บ – กลุ่ม 4A ไดโนทีฟูแรน ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์https://www.facebook.com/share/4QtH828jBnFKsnTW/?mibextid=oFDknk
โรคใบจุดตากบ
โรคใบจุดตากบ มีการเข้าทำลายในทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ ถ้าอาการรุนแรงแผลจะลามขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หากเกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอ เบื้องต้นได้ให้คำแนะนำเกษตรกรในเรื่องของการปรับสภาพดินที่มีอาการค่อนข้างเป็นกรค พร้อมนำเมล็กผักแช่ในเชื้อราไตรโครเดอร์มาก่อนปลูกและรดซ้ำในระหว่างการปลูก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราดังกล่าวต่อไป ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งหว้า สตูล https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VrGLMXhREaGr8JPqxQAyFz5xwznVcXK8yDqvrvTFGFYU3iLau6ziHua9NqwuPCgrl&id=100007766978925
หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง
ระวัง หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ใน ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที๒. ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น๓. ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด๔. หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำ การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด IRAC กลุ่ม ๕๑. สารสไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารสไปนีโทแรม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๖๑. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐
ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง GI
“ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอฝางเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่คุณภาพแหล่งใหญ่ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 20,000 ไร่พันธุ์ที่ปลูกได้แก่ ฮงฮวย จักรพรรดิ์ฯ มีลักษณะเฉพาะถิ่น คือ ผลกลมโต สีแดงเข้ม ทรงผลรูปหัวใจ เนื้อหนามีสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ลิ้นจี่จักรพรรดิ ที่มีพื้นที่ปลูกมากใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ฝาง อ.ไชยปราการ อ.แม่อาย “ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” คือ ลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู ผิวเปลือกหยาบคล้ายกำมะหยี่ เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ปลูกครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส มีอากาศหนาวเย็นในช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น รวมไปถึงยังมีน้ำพุร้อน ที่มักพบอยู่ในพื้นที่บริเวณหินภูเขาไฟที่ดับแล้ว ส่
กล้วยนาก
กล้วยนาก คุณสมบัติที่โดดเด่นของพันธุ์พืช คือ เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ เนื้อผลสุกมีรสชาติคล้ายกล้วยหอม อมเปรี้ยวเล็กน้อย ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ สี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช