ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ขอเชิญพี่น้องชาวกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมสนุกกับกิจกรรม “DOAE ผ้าไทยใครใส่ก็ดูดี ปี 3 ” ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 2568 โพสต์ภาพสวมใส่ผ้าไทยพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ ชิงรางวัลพิเศษ กติการ่วมสนุก 1. ส่งภาพการแต่งกายผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ของท่าน มายัง>> https://forms.gle/sU2NNwemVnef9Fi89  โดยภาพที่โพสต์ ท่านสามารถครีเอทท่าทาง ตกแต่งภาพได้ไม่จำกัดไอเดีย ไม่จำกัดจำนวนคนในภาพ ใส่แคปชั่นเก๋ ๆ ในภาพได้

มะม่วงน้ำดอกไม้ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (GI) มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่มีทรงผลรี เปลือกผิวบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองอมส้ม ปริมาณเส้นใยน้อย เมล็ดลีบ ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็นของจังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว” เมื่อ 3 พ.ค. 2562

โรคจุดดำ หรือ โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญและเกือบทุกส่วนของมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดอาการเป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยวและร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่าร่วงตลอดจนผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว แนวทางการป้องกันแก้ไข

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ศัตรูมะพร้าวและการป้องกัน” ปัจจุบันมีศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดและเป็นปัญหาในการปลูกมะพร้าว จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว และด้วงงวงมะพร้าว สำหรับการจัดการศัตรูมะพร้าว เพื่อให้ได้ผลดีและไม่ให้กลับมาระบาดใหม่ ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เพื่อลดปริมาณศัตรูมะพร้าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานคลิกอ่าน : https://bit.ly/2FUDSWS หนอนหัวดำคลิกอ่าน :

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “เรื่องเล่า…ชาวกาแฟ กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกที่จะต้องดื่ม บางคนดื่มเพราะความเคยชิน บางคนดื่มเพื่อผ่อนคลาย บางคนดื่มเพราะจะทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า “กาแฟ” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สายพันธุ์ที่นิยมในประเทศไทย 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอะราบิกาและกาแฟโรบัสตา เมื่อเปรียบเทียบลักษณะเมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์ อยากรู้เรื่องราวของกาแฟมากขึ้น คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ เรื่องเล่า…ชาวกาแฟคลิกอ่าน : https://bit.ly/4hmR8PA การผลิตกาแฟอะราบิกา

หนอนแมลงวันพริก การทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทำลายตาม ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ฤดูการระบาดสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเตือนผู้ปลูกพริก ในระยะเก็บเกี่ยว รับมือแมลงวันทองพริก ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี ไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่าร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ลักษณะอาการหนอนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซีย แล้วระบาดเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย การนำเมล็ดพันธุ์จากทางภาคใต้มาเป็นเหตุทำให้หนอนชนิดนี้ติดมาด้วย เกษตรกรจึงเรียกหนอนชนิดนี้ว่า “หนอนใต้” หรือ “หนอนมาเลย์” หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ การแพร่ระบาดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนแพร่ระบาดในพื้นที่ปลูกทุเรียนของภาคใต้และภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) โดยพบระบาดมากระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

หนอนชอนใบผัก

หนอนชอนใบผัก การทำลายแมลงวันขนาดเล็ก มีสีดำเหลือง ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ใต้ผิวใบตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน โดยชอนไชภายในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น และตายได้ สามารถเข้าทำลายพืชผักได้หลายชนิด เช่น พืชตระกูล กะหล่ำ ต้นหอม มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวบ กระเจี๊ยบเขียว โหระพา แมงลัก รวมถึง

ฟางข้าว=ปุ๋ย

ฟางข้าว=ปุ๋ย นาข้าว 1 ไร่ มีตอซังและฟางข้าว 650 กิโลกรัม >ธาตุอาหารหลัก 23 กิโลกรัม มูลค่า 725 บาท ปริมาณและมูลค่าของธาตุอาหารหลักในตอซังและฟางข้าว มีดังนี้ ***การใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายร่วมกับการไถกลบ ทำให้ตอซังข้าวนิ่ม ไถกลบได้ง่ายขึ้น*** จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี


ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค

สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะอาการ
ทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น

การป้องกันกำจัด

  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณมาก
  • สารเคมีป้องกันกำจัด ซิงค์ไทอะโซล, เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+เตทตะไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์

สาเหตุ : เชื้อรา

ลักษณะอาการ
ทำลายระยะกล้าถึงออกรวง ใบเป็นจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา หัวท้ายแหลมตรงกลางแผลมีจุดสีเทา กรณีที่โรคระบาดรุนแรงแผลขยายติดกัน กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้

  • ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น
  • ระยะออกรวง มีแผลช้ำที่คอรวง เกิดเมล็ดลีบ ถ้าข้าวเริ่มโน้มรวงเกิดแผลช้ำที่คอรวงทำให้รวงหัก

การป้องกันกำจัด

  • คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • ไม่ควรปลูกข้าวแน่นเกินไป
  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณมาก
  • สารเคมีป้องกันจำกัด ไตรไซคลาโซล, ไอโซโปรไธโอเลน, คาร์เบนดาซิม

สาเหตุ : เชื้อรา

ลักษณะอาการ
ทำลายระยะกล้าถึงออกรวง มีลักษณะจุดสีน้ำตาลคล้ายสนิม รูปกลมหรือรูปไข่ ที่ใบแผลมีสีเหลือง หากพบแผลที่เกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก เรียก โรคเมล็ดด่าง ทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีจะทำให้เมล็ดหักง่าย

การป้องกันกำจัด

  • ปรับปรุงบำรุงดิน โดยการไถกลบฟาง
  • เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยพืชสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดความรุนแรงของโรค
  • คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • สารเคมีป้องกันกำจัด คาร์เบนดาซิม, แมนโคเซบ, โพรพิโคนาโซล

เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี

ระวัง 3 โรคข้าวในหน้าหนาว
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/12/3-โรคข้าวในหน้าหนาว.jpg