ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

ขอเชิญร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

รู้หรือไม่ ? ถ้ารู้จัก “ดิน” ดีกว่าใคร จะมีชัย “ในการปลูก” ไปกว่าครึ่ง จันทร์นี้เลยอยากจะชวนทุกคน มาอ่านเรื่องราวของดินและปุ๋ย เนื่องจากการผลิตพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุ้มค่าต่อการลงทุนนั้น ต้องรู้จักธรรมชาติของดินในพื้นที่ปลูกของตนเองก่อน เกษตรกรจึงจะสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ 1. รู้จักดินดีหรือยัง? คลิกอ่าน :

เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

โรคราน้ำฝนในลำไย เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงเวลานี้ มีฝนตกชุกและ มีความชื้นสูง ทำให้เกิดการระบาดของโรคราน้ำฝนในลำใยในบางพื้นที่ ฉะนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดให้รีบกำจัด หรือ ติดต่อสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปางหรือ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน การเข้าทำลาย เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง

คุยข่าวเกษตร ! รายการศูนย์ขยายกระจายข่าว โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://www.facebook.com/radiothungsongfm97/videos/1656379428491103

ประชาสัมพันธ์รับสมัคร “หมอพืชชุมชน ปี67”  เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการเป็นหมอพืชชุมชน ระหว่างวันที่ 13-16 สค. 67 โดยรับสมัครถึงวันที่ 19 กค. 67เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร 053611044 หรือ

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ ลักษณะทั่วไป อาการ การจัดการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในปีการผลิต 2567/68 ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน และที่สำคัญต้องได้รับการยืนยันข้อมูลในระบบทะเบียนเกษตรกร เรียบร้อยแล้ว เกษตรกรจึงจะได้รับสิทธิตามโครงการของรัฐบาลได้  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านหรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ขอเชิญเกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​  ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย) กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ได้แก่ คลินิกดิน,​

เตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกความชื้นในอากาศสูง สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้นขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในสวน หากมีน้ำท่วมควรรีบระบายออก เมื่อพบทุเรียนมีอาการใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก บริเวณลำต้นพบคราบน้ำบนผิวเปลือก รากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะน่าในการป้องกันกำจัดได้ที่เจ้าหน้าที่ส่านักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora Palmivora

การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง

การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง

การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง ขั้นตอนการทำ1. ถ้าใช้เศษวัสดุทางการเกษตรจะมีอัตราส่วนที่ต่างกัน ได้แก่ ฟางข้าว 4 ส่วน : ขี้วัว 1 ส่วนผักตบชวา/กล้วย 6 ส่วน : ขี้วัว 1 ส่วนใบไผ่/หญ้า 1 ส่วน : ใบไม้ 4 ส่วน : ขี้วัว 1 ส่วนฟางข้าว 4 ส่วน : ก้อนเห็ด 1 ส่วน : ขี้วัว 1 ส่วน 2. โดยนำเศษวัสดุทางการเกษตร ไปวางเป็นชั้นบาง ๆ ตามอัตราส่วน มีความหนาแต่ละชั้นประมาณ 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 1.5 เมตร 3. โรยทับด้วยมูลวัวให้ทั่ว 1 ส่วน แล้วใช้คราดช่วยกระจายมูลวัวและรดน้ำตาม 4. ทำชั้นที่สอง ชั้นที่สามต่อ พร้อมรดน้ำในแต่ละชั้น จนมีความสูง 1.5 เมตร จะได้ประมาณ 15 ชั้น 5. รดน้ำทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง และเจาะกองปุ๋ยทุก 7 วัน โดยเจาะรูเฉียงประมาณ 15 องศา ระยะระหว่างรูจะห่างประมาณ 15-30 เซนติเมตร โดยใส่น้ำภายในรูที่เจาะ ประมาณ 5-10 วินาที เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรู เพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนในกองปุ๋ย 6. ทุก 20 วัน จะสับกองปุ๋ย เพื่อตรวจสอบความชื้นของกองปุ๋ย ถ้าเจอเชื้อราสีขาวภายในกองปุ๋ยแสดงว่าความชื้นไม่ถึง ต้องเติมน้ำเพิ่ม 7. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน หยุดให้น้ำและทำการกระจายปุ๋ยหมัก ตากให้แห้ง ปร

ไนโตรเจน (เอ็น) ในดิน

ไนโตรเจน (เอ็น) ในดิน

ไนโตรเจน (เอ็น) ในดิน เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช)

ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช)

ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช) ถ้าค่ากรด-ด่าง ต่ำกว่า 5.5 (กรดจัด) จะส่งผลดังนี้ ถ้าค่ากรด-ด่าง สูงกว่า 6.5 (ดินด่าง) จะมีผลต่อการละลายของธาตุอาหารบางชนิด และดินจะระบายน้ำได้ไม่ดี การปรับปรุงดินกรด-ดินด่าง ดินกรด ปรับปรุงด้วยปูนขาว อัตราที่ใช้ ดังนี้ ดินด่าง ปรับปรุงดินด้วย ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก การไถกลบฟาง หรือตอซัง เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงค่ากรด-ด่าง หรือทำให้ดินมีค่าความเป็น กรด-ด่าง ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับปุ๋ยสูตรสำเร็จ

เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับปุ๋ยสูตรสำเร็จ

เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับปุ๋ยสูตรสำเร็จ ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยสูตรสำเร็จ เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

การเตรียมดินก่อนเพาะปลูก

การเตรียมดินก่อนเพาะปลูก

การเตรียมดินก่อนเพาะปลูก ก่อนการเริ่มฤดูการเพาะปลูก ต้องมีการเตรียมดิน เพื่อให้ดินมีโครงสร้างทางกายภาพที่ดี ระบายน้ำและอากาศได้ดี ปริมาณความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และธาตุอาหารของพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์มีปริมาณเพียงพอเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชแต่ละชนิด ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการจัดการดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย