มะนาวตาฮิติ
มะนาวตาฮิติ มะนาวไร้เมล็ด หรือมีก็น้อยมาก ผลรูปกลมคล้ายหยดน้ำ ผลใหญ่ รสเปรี้ยว ปริมาณน้ำมาก ลักษณะเด่นมะนาวตาฮิติเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากเกาะตาฮิติ รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อศึกษา ปลูก และขยายพันธุ์ พบว่า มะนาวพันธุ์นี้เติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของไทย ผลมีขนาดใหญ่มาก เปลือกหนา เมื่อแก่จัดก็ยังมีสีเขียวเข้มเหมือนเดิม มีน้ำมากกว่ามะนาวชนิดอื่น จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จุดเด่นคือผลใหญ่ ให้น้ำมาก เปลือกหนา ปลูกง่าย โตเร็ว ต้นสูงใหญ่ มีหนามน้อยหรือ ไม่มีหนามเลย ติดผลดก รสเปรี้ยว เป็นไม้พุ่มสูง 1.5-3 เมตร และมะนาวพันธุ์นี้ไม่มีเมล็ดสามารถปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ผล และเพื่อการค้าได้ การขยายพันธุ์และดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้เปลือกผลและผิวผล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมขูดผิวหรือหั่นบาง ๆ เป็นฝอย ๆ โรยหน้าอาหารคาวก่อนนำไปนึ่ง ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดีมาก ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์
มะนาวแป้นพิจิตร 1
มะนาวแป้นพิจิตร 1 ลักษณะเด่นผสมพันธุ์ขึ้นใหม่ โดยนักวิชาการไทยจากศูนย์วิจัยพืชสวน ซึ่งใช้มะนาวแป้นรำไพเป็นแม่พันธุ์ผสมกับมะนาวน้ำหอม ลักษณะเด่นคือทนต่อโรคแคงเกอร์ได้ดี ปลูกง่าย ต้นเตี้ย ติดดอก ติดผลตลอดปี ติดผลเป็นพวง พวงละ 3-5 ผล ผลดก ผลใหญ่ ผิวสวย น้ำมาก น้ำมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวจัด จึงนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มสูง 2 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ผลทรงกลมกึ่งแป้น ฉ่ำน้ำ เปลือกค่อนข้าง เมล็ดน้อย การขยายพันธุ์และดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้มะนาวแป้นพิจิตรเป็นมะนาวที่ถูกปรับปรุงพันธุ์จากมะนาวแป้นรำไพผสมมะนาวน้ำหอม หากปลูกในบ่อซีเมนต์ หลังจากอายุ 1 ปี ค่อยปล่อยให้ติดผล ต้น อายุ 4 ปี จะให้ผล 400 ผล/ต้น หากปลูกในแปลงปลูก ให้ผลผลิต 1,000 ลูก/ต้น ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์
มะนาวแป้นไต้หวัน
มะนาวแป้นไต้หวัน ลักษณะเด่นมะนาวแป้นไต้หวัน สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ออกลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะต้นมีหนามสั้นโตเร็ว ออกลูกเป็นพวง ผลดก ขนาดใหญ่มีทรงแป้นเหมือนลูกจัน เปลือกบาง มีกลิ่นหอม มีรสเปรี้ยวกลมกล่อม เมล็ดน้อย มีความต้านทานโรคแคงเกอร์ การขยายพันธุ์และดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้เป็นมะนาวเก่าแก่ที่ปลูกอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ผลใหญ่ดกเป็นพวง ทรงผลแป้น เปลือกบาง น้ำมีกลิ่นหอม เมล็ดน้อย รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์
ไผ่หม่าจู
ไผ่หม่าจู ลำขนาดใหญ่ หน่อขนาดใหญ่ มีรสชาติหวานกรอบ สีเขียวอมเหลือง ใบขนาดใหญ่ใช้ทำบ๊ะจ่างได้ดีและชาวจีนไต้หวัน นิยมเอาใบสดไปหมักทำเหล้า เรียกว่า เหล้าไผ่ หรือเหล้าจู๋เย่ชิง ลักษณะเด่นไผ่หม่าจูอยู่สกุลไผ่ตง เป็นไผ่ต่างถิ่นนำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-16 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวนวล ไม่มีหนาม หน่อมีสีเหลืองส้ม ใบขนาดใหญ่ การใช้ประโยชน์ คือ ลำใช้ทำท่อส่งน้ำหรือทำแพขนาดเล็กใช้ในงานก่อสร้างและเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเผื่อกระดาษ หน่อเป็นอาหาร มีรสชาติดี ไม่มีเสี้ยน รับประทานเป็นหน่อสด หน่อแห้ง และหน่อไม้กระป๋อง ใบใช้ห่อขนมบ๊ะจ่าง การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา ประวัติโดยย่อการเพิ่มคุณภาพของหน่อ ทำได้โดยวิธีการหมกหน่อด้วยดิน หรือแกลบเผา ไม่ให้ถูกแสงแดง หน่อจะมีสีสวยเหลืองทอง เนื้อกรอบไม่มีเสี้ยน รสชาติหวาน ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์
ไผ่รวก
ไผ่รวก ไผ่ขึ้นเป็นกอแน่น ลำขนาดเล็ก เรียวตรง กิ่งแขนงน้อย มีกาบแห้งติดกับลำ ลักษณะเด่นไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2-4 เซนติเมตร ในที่แล้ง และขนาด 4-7 เซนติเมตร ในที่ชื้น ความสูง 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตันที่ปลายลำมีเนื้อบางกว่า ลักษณะกอปลายลำมักโค้งลง กอค่อนข้างแน่น กาบหุ้มลำคล้ายกระดาษติดอยู่กับลำนาน สามารถพบได้ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งและหน้าดินตื้น นิยมปลูกเป็นแนวรั้วและงานจักสานต่าง ๆ การขยายพันธุ์และการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้ลำไผ่รวกถ้านำไปเผาเป็นถ่านและฟืน จะให้ความร้อนสูงถึง 6,512 แคลอรี่กรัม หน่อสามารถเอาไปทำหน่อไม้ปี๊บได้ โดยต้มรินน้ำทิ้งอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อลดความขม ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์