การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ฤดูกาลแปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลต่อความั่นคงทางอาหารและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 10 ทางเลือกการจัดการวัสดุทางการเกษตรลดต้นทุน 1.ไถกลบแทนการเผาเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 261 บาท/ไร่ 2.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย 6 บาท/กิโลกรัม 3.เลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารหมักลดต้นทุนอาหารสัตว์ 3.83 บาท/กิโลกรัม 4.วัสดุห่มดินช่วยรักษาความชื้นในดิน 5.หัวเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายตอซังข้าวใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายตอซังข้าวได้ 7-10 วัน ลดต้นทุน 1,000 บาท/ไร่ 6.ไบโอชาร์ใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน คิดเป็น มูลค่า 50 บาท/กิโลกรัม 7.นำมาเพาะเห็ดสร้างอาหารสร้างรายได้ ขายได้ 60-170 บาท/กิโลกรัม 8.วัสดุเพาะปลูก หรือดินผสมขายได้ถุงละ 10 บาท กาบมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าวคิดเป็นมูลค่า 30-50 บาท/ถุง 9.นำมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงานแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม โดยแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง คิดเป็นมูลค่า 3,500 – 4,000 บาทต่อตัน 10.แปรรูปเป็นสินค้าเพิ่มมูลค่าภาชนะจากใบไม้ กระถาง ปลูกต้นไม้ จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง
มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้
ลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”
เกษตรกรไทยร่วมใจหยุดเผา

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล พืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง เช่น กาแฟ อะโวคาโด มะคาเดเมีย หรือไม้โตเร็ว หรือปลูกผักในโรงเรือน 3.เปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก Replace with Alternate Cropsปรับเปลี่ยนพืชทางเลือกบนพื้นที่ราบ เปลี่ยนพื้นที่นาปรังหรือพื้นที่นอกเขตชลประทานให้ปลูกข้าวโพดหรือพืชตระกูลถั่วทดแทนการทำนาปรัง เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว