แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก เป็นต้น เพลี้ยอ่อนเพลี้ยอ่อน สามารถเข้าทำลายได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งส่วนยอด ใบอ่อน และใบแก่ ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัด คือ ส่วนยอด และใบจะหงิกงอ เมื่อจำนวนเพลี้ยอ่อนเพิ่มมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะค่อย ๆ มีสีเหลือง ด้วงหมัดผักตัวอ่อนด้วงหมัดผักกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้น หรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย ด้วงหมัดผักชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ตัวเต็มวัย เมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด หนอนใยผักตัวเต็มวัยเพศเมียของหนอนใยผักวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือกลุ่มเล็ก ๆ ทั้งบนใบและใต้ใบพืช หนอนมีลักษณะเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนจะกัดกินผิวใบทำให้ผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห จากนั้นเข้าดักแด้บริเวณใบพืช โดยมีใยบาง ๆ ปกคลุมติดใบพืช หนอนกระทู้ผักหนอนกระทู้ผักระยะแรกจะเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในนระยยต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้านหรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ การเข้าทำลายมักเกิดเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่และมักแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดปี เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp.

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
วัชพืชในนาข้าว

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น : โคนต้นที่แช่น้ำ มีนวมสีขาวคล้ายฟองน้ำหุ้ม ช่อดอกคล้ายกรวยคว่ำ ขาเขียดลักษณะเด่น : ก้านใบและใบคล้ายขาเขียด ลักษณะทั่วไปคล้ายผักตบชวา หนวดปลาดุกลักษณะเด่น : ต้นอ่อนแตกกอ แนวเส้นตรงคล้ายพัด ดอกเป็นตุ่มสีน้ำตาล กกขนากลักษณะเด่น : ลำต้นสามเหลี่ยม เว้าลึก ดอกเป็นแฉทรงกลม สีเขียว กกทรายลักษณะเด่น : ต้นอ่อนคล้ายหอกปลายแหลม ดอกเล็กเป็นช่อเรียงกัน 2 แถว สีเหลือง-น้ำตาล ผักแว่นลักษณะเด่น : ใบเป็น 4 แฉก จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดพิษณุโลก
กับดักมอดเจาะผลกาแฟ

กับดักมอดเจาะผลกาแฟ อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำกับดัก วิธีการใช้งานกับดักมอดเจาะผลกาแฟพื้นที่ปลูกกาแฟ 1 ไร่ ใช้กับดัก 5-10 จุด เติมสารล่อทุก 2 สัปดาห์ ควรแขวนกับดักมอดเจาะผลกาแฟ บริเวณกิ่งก้านของต้นกาแฟ ให้กระจายทั่วพื้นที่ เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย