ปลูกเมล่อนในโรงเรือนสร้างรายได้
ปลูกเมล่อนในโรงเรือนสร้างรายได้ การเตรียมดินใช้ดินทราย 2 ส่วน ขี้วัว 1 ส่วน และผสมไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อรา เพาะเมล็ดแช่เมล็ดในน้ำอุ่น จากนั้นซับด้วยกระดาษทิชชู่ 1 คืน เลือกต้นที่มีรากลงในถาดเพาะ 7-10 วัน แล้วจึงนำลงกระถาง เข้าโรงเรือนที่มีมุ้งสีขาวขนาด 32 ตา ให้น้ำและใส่ปุ๋ยให้น้ำทุกวัน วันละ 3 รอบ เช้า กลางวัน เย็น การใส่ปุ๋ยหลังจากนำลงกระถาง วันเว้นวัน วันที่ 2-24 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 วันที่ 26-44 ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 วันที่ 46-60 ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 โดยใช้ปุ๋ยแต่ละสูตร 500 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร การเก็บเกี่ยวเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 65 เป็นต้นไป น้ำหนักผลละประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ความหวานไม่น้อยกว่า 14 Brix 1 ปี สามารถปลูกได้ 3 รอบ จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง
ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่ ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 60 ปี ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู จึงเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายสาย อีกทั้งมีน้ำพุร้อนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ จึงทำให้ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและรสชาติของลิ้นจี่ อีกทั้งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ประกอบกับเกษตรกรดูแลแปลงปลูกเป็นอย่างดี มีการบำรุงต้น ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งช่อ ส่งผลให้ลิ้นจี่จักรพรรดิฝางมีผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี รสชาติอร่อย ผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย GAP เป็นที่ต้องการของตลาด ที่มา : โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ไทย ปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ (พันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ (พันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4) ตรา GI เปรียบเสมือนแบรนด์ของท้องถิ่นที่บอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า เกณฑ์การขอใช้ตราสัญลักษณ์ GIผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ใดสวมสิทธิ์ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท สิทธิประโยชน์ของผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ GI ไทย ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ
“กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย !
“กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย! การดูแลรักษาต้นกล้วย เตรียมดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมักปรับปรุงดิน คลุกเคล้าด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องโรคตายพราย พร้อมกับจัดการระบบน้ำ (แบบน้ำพุ่ง) เพื่อให้กล้วยได้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ต้นกล้วยสมบูรณ์และเจริญเติบโตเร็ว จากนั้นจะบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตลอดอายุของต้นกล้วย วิธีการปลูก จะขยายพันธุ์โดยใช้หน่อกล้วยจากต้นกล้วยที่เก็บผลผลิตแล้ว ซึ่งต้นกล้วย 1 ต้น จะออกหน่อประมาณ 3-5 หน่อ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะต้องทำการตัดต้นกล้วยนั้นออกทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหาร โดนตัดให้เหลือความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นแม่เป็นอาหารเลี้ยงหน่อเล็ก และเลือกเฉพาะหน่อกล้วยที่โตที่สุด ประมาณ 2-3 หน่อ ตัดแต่งให้มีระยะห่างระหว่างหน่อประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อเป็นต้นกล้วยต้นใหม่ที่จะต้องดูแลให้ลูกและผลผลิตต่อไป ในการปลูกรอบต่อไปทำการขยาย โดยเลือกหน่อกล้วยใน 1 กอ ให้กระจายไปเรื่อย ๆ เพื่อลดการสะสมของโรคในดิน หรือการขุดหน่อเพื่อนำไปปลูกขยายต่อในแปลงใหม่ จะทำหลังจากต้นแม่ให้ผลผลิตแล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลและนำเชื้อโรค
การขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืช เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.