มะยงชิดนครนายก จ.นครนายก

มะยงชิดนครนายก จ.นครนายก มะยงชิด เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดนครนายก มีผลใหญ่ รูปไข่ สีเหลืองส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนา แน่น กรอบ ด้วยจังหวัดนครนายกมีลักษณะ ภูมิประเทศทางตอนเหนือและตะวันออก เป็นภูเขาสูงชัน ติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทางตอนกลางและใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ มีความลาดเอียงลงมาทางใต้เล็กน้อย เกิดการสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาโดยน้ำตามความลาดชันของภูเขาโดยสะสมตัวบนหินฐานรากที่เป็นหินปูน ลักษณะของตะกอนชุดนี้ประกอบด้วยดินเหนียวปนทรายสลับกับชั้นกรวด ซึ่งดินในลักษณะนี้มีความพิเศษคือสามารถอุ้มน้ำได้ดี มีช่องว่างของเม็ดดิน จึงทำให้การระบายน้ำและการถ่ายเทของอากาศในดินดี ประกอบกับสภาพอากาศหนาวสลับร้อน ทำให้จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งผลิตมะยงชิดที่ขึ้นชื่อของประเทศ มีรสชาติและลักษณะที่โดดเด่น จนได้รับการตั้งชื่อว่า “มะยงชิดนครนายก” และจังหวัดนครนายกกำหนดจัดงานมะยงชิดมะปรางหวานนครนายกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม ของทุกปี ที่มา : โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ไทย ปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร
จุลินทรีย์หน่อกล้วย

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กุมภาพันธ์ ; 2568
กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1

กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1 คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม วิธีการปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในเดือนแรกอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น การไว้หน่อ หลังจากปลูกกล้วย 5-6 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคน ควรทำลายหน่อทิ้งแล้วไว้หน่อในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อทดแทนต้นแม่ โดยให้หน่อที่ 1 และ 2 อายุห่างกัน 4 เดือน เทคนิคไว้หน่อคือ การเก็บเกี่ยว เดือนที่ 11 เตรียมถุงห่อกล้วย และนับวันกล้วยน้ำว้า 80-100 วัน ค่อยตัด ผลผลิตเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 22,500 บาท/ไร่/ปี การป้องกันโรคตายพรายใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในอัตรา 100-200 กรัม/หลุม คลุกเคล้ากับดินในหลุมก่อนปลูกกล้วย เมื่อพบกล้วยแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป อัตรา 1-2 กิโลกรัม/หลุม อุปกรณ์การเกษตร เมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ข้อมูลโดย : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 1 จังหวัดชลบุรี กร
กระท้อน คลองน้อย

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร บางใบไม้ บางชนะ และคลองฉนาก อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รายละเอียดเพิ่มเติม : https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2025/01/GIregistration240-กระท้อนคลองน้อย.pdf สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดือนมกราคม, 2568
ปลูกเมล่อนในโรงเรือนสร้างรายได้

ปลูกเมล่อนในโรงเรือนสร้างรายได้ การเตรียมดินใช้ดินทราย 2 ส่วน ขี้วัว 1 ส่วน และผสมไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อรา เพาะเมล็ดแช่เมล็ดในน้ำอุ่น จากนั้นซับด้วยกระดาษทิชชู่ 1 คืน เลือกต้นที่มีรากลงในถาดเพาะ 7-10 วัน แล้วจึงนำลงกระถาง เข้าโรงเรือนที่มีมุ้งสีขาวขนาด 32 ตา ให้น้ำและใส่ปุ๋ยให้น้ำทุกวัน วันละ 3 รอบ เช้า กลางวัน เย็น การใส่ปุ๋ยหลังจากนำลงกระถาง วันเว้นวัน วันที่ 2-24 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 วันที่ 26-44 ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 วันที่ 46-60 ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 โดยใช้ปุ๋ยแต่ละสูตร 500 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร การเก็บเกี่ยวเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 65 เป็นต้นไป น้ำหนักผลละประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ความหวานไม่น้อยกว่า 14 Brix 1 ปี สามารถปลูกได้ 3 รอบ จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว