เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว ปัจจัยการระบาด วิธีการปลูกข้าว : นาหว่านจะมีการระบาดมากกว่านาดำ เพราะมีต้นข้าวหนาแน่นกว่า อุณหภูมิความชื้นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ย การใช้ปุ๋ย : หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ใบข้าวจะเขียวหนาแน่น อวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ย การควบคุมน้ำในนาข้าว : นาที่มีน้ำขังในนาตลอด จะมีการเพิ่มของเพลี้ยได้มากกว่านาที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว การใช้สารฆ่าแมลง : หากใช้ในระยะเพลี้ยตัวเต็มวัยหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ ตัวเพลี้ยจะตาย แต่ไข่ของเพลี้ยมีโอกาสรอดสูง การป้องกันกำจัด ใช้พันธุ์ต้านทาน และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืชรอบ ๆ แปลง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากไป ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด เมื่อพบจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มากกว่า 10 ตัวต่อกอ เช่น สารไพมีโทรซีน, ฟลอนิคามิค, บูโพรเฟซิน, สารอีทิโพรล, ไดโนทีฟูแรน, อิมิดาคลอพริด, ไทอะมีโทแซม, ไอโซโพคาร์บ, ฟีโนบูคาร์บ https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/09/เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล-8-scaled.jpg