ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน ลักษณะอาการและการระบาดโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma bonibense) เชื้อราชนิดนี้กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเริ่มแพร่กระจายมายังประเทศไทย โดยการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ถือว่ามีความรุนแรง เพราะต้นพืชที่ติดเชื้อแล้วจะตาย และไม่มีทางรักษา โดยพืชที่เป็นแหล่งอาศัย ได้แก่ พืชสกุลถ่อน หมากสง สนทะเล พืชสกุลค้อ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำนิตยสาร เดือนสิงหาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th นิตยสารสารคดี

รายงานประจำปี เดือนสิงหาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) หรือที่ http://library.doae.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร “แนะนำหนังสือใหม่ เดือนสิงหาคม 2567” อาหารทำงานอย่างไร กล้วยไม้สกุลเดนโดรเบียม ทุเรียนถิ่นใหม่ 5 ภาค รวมพันธุ์ไม้ต้นในสวน ปุ๋ยหมัก สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหน้าแมว สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปและมีอากาศรร้อนจัดหลายพื้นที่ เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในทุกระยะการเจริญเติบโตรับมือหนอนหน้าแมว หนอนหน้าแมว จะกัดเข้าทำลายในปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกินใบมะพร้าว หนอนกินใบมะพร้าว หรือหนอนบุ้งเล็ก เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานจากช่อดอกมะพร้าวเป็นอาหาร และสามารถบินอพยพได้ระยะสั้นระหว่างสวนมะพร้าว ระยะทางประมาณ 1-1.5 กิโลเมตร โดยในระยะหนอนจะเป็นช่วงวัยที่เข้าทำลายมะพร้าว ลักษณะอาการหนอนจะอาศัยกัดกินอยู่ด้านใต้ใบพืช หนอนขนาดเล็กจะแทะผิวเป็นทางยาว หนอนขนาดใหญ่จะกัดกินขอบใบทำให้ใบขาดแหว่ง โดยกัดกินใบจากล่างไปยอดทำให้ใบเหลืองและแห้ง พืชอาหาร ได้แก่ มะพร้าว ปาล์ม ต้นสาคู กล้วย อ้อย

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของไวรัสใบด่างในมะเขือ ลักษณะอาการอาการเริ่มแรกพบใบยอดอ่อนเหลืองทีละยอด จนเหลืองหมดทั้งต้น ผลของมะเขือเป็นสีเหลืองด่าง ต้นชะงักการเจริญเติบโต มีอาการที่พบในส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ผลผลิตบิดเบี้ยว ขนาดเล็กกว่าปกติ แต่ถ้าเกิดกับมะเขือที่ยังเล็กและไม่สมบูรณ์ จะไม่ให้ผลผลิตเลย หากทิ้งไว้นานจำนวนต้นที่เป็นโรค จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเหล่านี้เกิดหลังจากแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว เข้าทำลายพืช

ชวนอ่านเรื่องราวของ “การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง”ตั้งแต่ ก่อนน้ำท่วมขัง ขณะน้ำท่วมขัง หลังน้ำลด จะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง คลิกอ่านเลย >> https://bit.ly/3TPx2pd

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาว พบการระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนตลอดทั้งปี โดยตัวหนอนจะเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ด้วงหนวดยาว มีตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่ กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม ลักษณะการทำลายตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกอาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า

แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สวนปู่กะย่าฟาร์ม https://maps.app.goo.gl/T3KhD4cG9gcuj4นั่งเรือชมสวนมะม่วงมาตรฐาน GAP ชมนก ชมไม้ บรรยากาศร่มรื่น ใกล้ชิดธรรมชาติ พร้อมชิมมะม่วงลอยแก้ว ขนมบ้าบิ่นสูตรโบราณ ฟาร์มสุขสมใจ https://maps.app.goo.gl/dz7CHJDQkEgGhEtH6สวนผักอินทรีย์ปลอดสารพิษตกค้าง 100% ผักสลัด ผักออแกนิกส์ เมล่อน องุ่น เครื่องดื่ม คาเฟ่ปทุมธานีhttps://www.facebook.com/FarmSuksomjai/ ใบเขียวไฮโดรฟาร์ม

คลังความรู้กรมส่งเสริมการเกษตร

ค้นหาข้อมูล

กรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ที่ช่องค้นหาข้อมูล

เลื่อนไปทางซ้าย – ขวา เพื่ออ่านเรื่องถัดไป

ข่าวประชาสัมพันธ์

องค์ความรู้ด้านการเกษตร

คลังหนังสือออนไลน์

รวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้และข้อมูลด้านการเกษตร ให้บริการในรูปแบบหนังสือ e-Book และไฟล์ PDF.

คลังหนังสือออนไลน์

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ห้องสมุด (e-Library) สามารถสืบค้น/ยืม หนังสือ นิตยสาร และวารสารของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานภายนอกได้

เข้าสู่ระบบห้องสมุด

เรื่องนี้มีคำตอบ

รวมประเด็นคำถามสำคัญ งานตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เกษตรกรควรรู้

เรื่องนี้มีคำตอบ

"เกษตรมาแล้ว"

คลิปวิดีโอสั้น เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านช่องทาง Tiktok "เกษตรมาแล้ว"

เข้าชม เกษตรมาแล้ว

หนอนปลอกเล็ก หนอนปลอกเล็กจะแทะผิวใบ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูขาดแหว่ง ถ้าเข้าทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้น เเป็นสีน้ำตาลแห้ง ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง หรือไม่ได้ผลผลิต

เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว ส่วนที่ถูกเพลี้ยอ่อนทำลาย ใบอ่อนหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดฝัก และหากฝักอ่อนถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้ฝักมีขนาดเล็กลง หากการทำลายรุนแรงจะทำให้หยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด เพลี้ยอ่อนยังปล่อยของเหลว

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน แมลงศัตรูที่สำคัญของทุเรียน เนื่องจากทุเรียนอยู่ในระยะของการพัฒนาผล การเข้าทำลายของหนอนเจาะเมล็ด ส่งผลเสียต่อผลผลิตทุเรียน ทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ

ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าวมี 2 ชนิด ได้แก่ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก และด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง

เพลี้ยไฟ (Thrips) ในทุเรียน เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายข้าวโดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าวเหนือผิวน้ำ ต้นข้าวที่ถูกทำลายจะมีใบเหลืองแห้งตายเป็นหย่อม เรียก “อาการไหม้” พบช่วงแตกกอถึงออกรวง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นพาหะนำเชื้อไวรัส