ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

โรคใบขีดโปร่งแสง

โรคใบขีดโปร่งแสง สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อยู่ในดิน น้ำ และวัชพืช– เชื้อสามารถแพร่ขยายได้หลังจากช่วงที่มีฝนตกและลมพัดแรง– ส่วนใหญ่พบการระบาดในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง– ข้าวพันธุ์ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ขาวดอกมะลิ 105 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 กข 41 กข 47 กข 49

เฝ้าระวัง! โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส CASSAVA MOSAIC VIRUS ; CMV การแพร่ระบาดเกิดจาก อาการใบมีลักษณะเป็นใบด่างเหลือง ใบหงิก เสียรูปทรง ลดรูป ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ตัน แคระแกร็น ส่งผลให้ผลผลิตลดลง กรณีติดโรคจากท่อนพันธุ์

ขอเชิญชวนเกษตรกรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อรักษาสิทธิ์ รับโอกาส และการช่วยเหลือจากภาครัฐ แจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรหลังจากทำการเพาะปลูกพืชแล้ว 15 วัน หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ให้แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้เมื่อทำการเพาะปลูกแล้ว 30 วัน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกปี เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน และเป็นข้อมูลการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร รวมถึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชและสนับสนุนโครงการมาตรการภาครัฐต่าง ๆ ช่องทางการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร แจ้งเจ้าหน้าที่ 2. ผ่านผู้นำชุมชนหรือตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรดำเนินการด้วยตนเอง

Ep.6 งานส่งเสริมการเกษตรกับศูนย์พิกุลทองฯ เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร Ep.6 เกษตรเขต 5 ขอเชิญติดตามรับชมรับฟัง FB Live #เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร  20 มิ.ย. 67 เวลา 10.00-10.40 น. นานาสาระ โดย วุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5

เอกสารวิชาการ การปลูกและการขยายพันธุ์มะนาวของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักกับ “คลินิกพืช” หน่วยบริการที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาศัตรูพืช และป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้อย่างตรงจุด รวมถึงหมอพืชและหมอพืชชุมชน บุคคลที่จะช่วยวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืช(เบื้องต้น) ให้แก่เกษตรกรได้ ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ Q&A คลินิกพืช วินิจฉัยอาการผิดปกติของพืช แก้ปัญหาศัตรูพืชตรงจุดคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/คลินิกพืช/ คลิกนิกพืชคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/คลินิกพืช-2/ มารู้จัก

หลักการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ ควรใช้ให้ตรงตามความต้องการของพืช และสมบัติของดิน โดยใส่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับธาตุอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน ส่งผลให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี คงความอุดมสมบูรณ์ของดินในระดับดีเอาไว้ระยะยาว และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ปุ๋ยให้ถูกชนิด การใช้ปุ๋ยให้ถูกอัตรา การใช้ปุ๋ยให้ถูกเวลา การใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

เชิญร่วมงานรณรงค์จำกัดการขยายพันธุ์และลดประชากรของแมลงวันผลไม้ “ดักล่อ” “ห่อผล” “หล่นเก็บ” วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567 ณ ลานวัดชมพูพน ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง คำแนะนำ :1.เมื่อพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ในแปลง ให้เก็บและนำมาทำลาย พร้อมกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลง2.ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร เช่นㆍ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรㆍ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 30

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรมีความเป็นเลิศทางด้านการเป็นคลังความรู้และการให้บริการสารสนเทศด้านการเกษตรและอื่นๆ ที่ทันสมัย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ค้นหาข้อมูล

กรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ที่ช่องค้นหาข้อมูล

เลื่อนไปทางซ้าย – ขวา เพื่ออ่านเรื่องถัดไป

ข่าวประชาสัมพันธ์

ศูนย์ข้อมูลองค์ความรู้ด้านการเกษตร

คลังหนังสือออนไลน์

รวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้และข้อมูลด้านการเกษตร ให้บริการในรูปแบบหนังสือ e-Book และไฟล์ PDF.

คลังหนังสือออนไลน์

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ห้องสมุด (e-Library) สามารถสืบค้น/ยืม หนังสือ นิตยสาร และวารสารของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานภายนอกได้

เข้าสู่ระบบห้องสมุด

เรื่องนี้มีคำตอบ

รวมประเด็นคำถามสำคัญ งานตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เกษตรกรควรรู้

เรื่องนี้มีคำตอบ

"เกษตรมาแล้ว"

คลิปวิดีโอสั้น เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านช่องทาง Tiktok "เกษตรมาแล้ว"

เข้าชม เกษตรมาแล้ว

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนเกษตรกรรับมือภัยแล้ง เพราะหน้าแล้งของประเทศไทย มีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากปีก่อน และมีระยะเวลาทอดยาวขึ้น เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวรับมือกับภัยแล้ง รวมถึงเรียนรู้แนวทางการดูแลพืชผลทางการเกษตรให้อยู่รอดปลอดภัย เล่าแบบรวบรัด

แตนเบียนบราคอน เป็นแตนเบียนท้องถิ่น พบได้ในธรรมชาติ ทำลายศัตรูพืชระยะหนอน มีขนาดเล็กประมาณ 1.3-2.7 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลปนเหลือง

ข่าวเตือน ระวัง!! ทุเรียนขาดน้ำ ในฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน และไม่มีฝน อาจส่งผลกระทบต่อทุเรียนขาดน้ำ ทั้งที่ยังไม่ให้ผลผลิต และให้ผลผลิตแล้ว

ข่าวเตือน ระวัง!! หนอนปลอกเล็กในปาล์มน้ำมันและมะพร้าว ลักษณะการทำลาย : หนอนปลอกเล็กจะแทะผิวใบ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูขาดแหว่ง

หนอนเจาะฝักข้าวโพด Corn Earwor หนอนเจาะฝักข้าวโพดหรือหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นศัตรูที่ทำให้ข้าวโพดเกิดความเสียหาย ลักษณะตัวหนอน : ลำตัวของตัวหนอน

เตือนเฝ้าระวัง ! หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer) เนื่องจากสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีอุณหภูมิสูง และฝนทิ้งช่วง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย