ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคสแคป

โรคและแมลงศัตรูส้ม “โรคสแคป” เกิดจากเชื้อรา Elsinoe fawcettii Bitanc & Jankins ซึ่งชอบอากาศเย็น จึงพบโรคกับส้มที่ปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ติดต่อกันค่อนข้างนาน หรือในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวที่มีความชื้นสูง ลักษณะอาการ – อาการที่เกิดบนใบและบนผลส้มจะคล้ายกับโรคแคงเกอร์ โดยเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดใสขนาดเล็ก ต่อมาแผลจะนูนขึ้นและเป็นสีน้ำตาลอ่อน หลังจากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเทา ตกสะเก็ด แข็งขรุขระคล้ายหูด ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรกรปลอดการเผา”  บทที่ 2 ความผิดทางกฎหมายจาก “การเผาในพื้นที่เกษตร“ “การเผาในพื้นที่การเกษตร เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาทางการเกษตรที่ตามมาอีกมากมาย ได้แก่ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ก่อให้เกิดฝุ่นละอองหมอกควัน ก๊าซพิษ เถ้า และเขม่าควัน ระบายลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหมอกควันปกคลุมประเทศไทย ในระยะยาวเกิดเป็นภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างแน่นอน ที่สำคัญอีกประการ คือมลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรปลอดการเผา” บทที่ 1 การเผาในพื้นที่เกษตรในประเทศไทยและผลกระทบจากการเผาในพื้นที่เกษตร “กรมส่งเสริมการเกษตรจะต้องสร้างการรับรู้ถึงโทษของการเผาให้กับเกษตรกร เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีในการจัดการที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์กับเกษตรกรมากที่สุด ดังนั้น เกษตรกรทุกรายล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลดจุดความร้อนในพื้นที่เกษตร “หยุดเผาในพื้นที่เกษตร” และเดินหน้าทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป” เอกสารประกอบการเรียน : https://doaenews.doae.go.th/wp-content/uploads/2023/11/บทที่-1..pdf ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร AM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

PLANT Propagation การขยายพันธุ์พืช หมายถึงการเพิ่มปริมาณต้นพืชจากต้นที่มีอยู่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้พืชดำรงสายพันธุ์นั้นไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ และรักษาลักษณะประจำพันธุ์ให้คงอยู่ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ แบบอาศัยเพศ และ แบบไม่อาศัยเพศ จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

แมลงวันหนอนชอนใบในพืชผัก หนอนชอนไชภายในใบพืช ทำให้เกิดรอยสีขาวคดเคี้ยวไปมา จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

แมลงศัตรูมะพร้าว “แมลงดำหนามมะพร้าว” ลักษณะการเข้าทำลายตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินยอดอ่อน และจะซ่อนตัวอยู่ในใบอ่อนที่พับอยู่ โดยจะเคลื่อนย้ายไปกินยอดอื่นต่อ เมื่อใบของมะพร้าวที่ซ่อนตัวคลี่ออกมา ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเป็นสีขาวโพลนชัดเจน หรือที่เรียกว่า “มะพร้าวหัวหงอก” ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ไรสี่ขามะพร้าว

แมลงศัตรูมะพร้าว “ไรสี่ขามะพร้าว” ลักษณะการเข้าทำลายเข้าทำลายใต้กลีบขั้วผล และใต้กลีบเลี้ยง ทำให้เกิดรอยแผลที่ขั้วผลและลุกลามลงมาที่ผลทำให้แผลตกสะเก็ด เมื่อผลโตขึ้นจะเห็นแผลเป็นร่องลึก เมื่อแกะขั้วผลออกจะเห็นด้านในเป็นสีน้ำตาล หากนำไปส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นไรสี่ขามะพร้าวตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก โดยจะเข้าทำลายเกือบทุกผลของทลายมะพร้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

คลังความรู้กรมส่งเสริมการเกษตร

ค้นหาข้อมูล

กรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ที่ช่องค้นหาข้อมูล

เลื่อนไปทางซ้าย – ขวา เพื่ออ่านเรื่องถัดไป

ข่าวประชาสัมพันธ์

องค์ความรู้ด้านการเกษตร

คลังหนังสือออนไลน์

รวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้และข้อมูลด้านการเกษตร ให้บริการในรูปแบบหนังสือ e-Book และไฟล์ PDF.

คลังหนังสือออนไลน์

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ห้องสมุด (e-Library) สามารถสืบค้น/ยืม หนังสือ นิตยสาร และวารสารของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานภายนอกได้

เข้าสู่ระบบห้องสมุด

เรื่องนี้มีคำตอบ

รวมประเด็นคำถามสำคัญ งานตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เกษตรกรควรรู้

เรื่องนี้มีคำตอบ

"เกษตรมาแล้ว"

คลิปวิดีโอสั้น เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านช่องทาง Tiktok "เกษตรมาแล้ว"

เข้าชม เกษตรมาแล้ว