ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

ผึ้งชันโรง

ผึ้งชันโรง

ผึ้งชันโรง ลักษณะทั่วไปชันโรงเป็นแมลงวงศ์เดียวกับผึ้ง มีพฤติกรรมเก็บน้ำหวานดอกไม้และละอองเกสรเพศผู้ของดอกไม้มาใช้เป็นอาหาร มีรัศมีการบินหาอาหารประมาณไม่เกิน 300 เมตร การเตรียมการเลี้ยงชันโรง ประโยชน์จากชันโรงในทางเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรต่อชาวสวนผลไม้อย่างมาก จึงมีผู้หันมาเลี้ยงชันโชงเป็นอาชีพเสริมเพื่อประโยชน์ในการทำสวน โครงสร้างของรังชันโรง ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักเรื่องราวของ “ผึ้ง” นักผสมเกสรตัวจิ๋ว

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักเรื่องราวของ “ผึ้ง” นักผสมเกสรตัวจิ๋ว

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักเรื่องราวของ “ผึ้ง” นักผสมเกสรตัวจิ๋ว เนื่องใน วันผึ้งโลก กันค่ะ “ผึ้ง” สร้างประโยชน์ทางการเกษตรอย่างมาก นอกจากจะช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิตพืช เช่น เงาะ ลําไย ลิ้นจี่ ส้ม มะพร้าว มะม่วงฯ แล้ว ยังเป็นแมลงเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้เกษตรกรไทยอีกด้วย เล่าง่ายๆ ได้ใจความกับ 5 เรื่องที่แนะนำด้านล่างเลยค่ะ 1.รู้เรื่องผึ้งและแมลงเศรษฐกิจของไทย คลิกอ่าน : https://bit.ly/3UO51xg 2.ชันโรง(ผึ้งจิ๋ว) นักผสมเกสรชั้นยอด ตัวช่วยสำคัญของเกษตรกร คลิกอ่าน : https://bit.ly/3OhC2Qy 3.ชี้เป้า 5 แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ คลิกอ่าน : https://bit.ly/3IsXRsN 4.การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ คลิกอ่าน : https://bit.ly/4blDg6e 5.ชี้เป้าแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผึ้งและชันโรง คลิกอ่าน : https://bit.ly/3UWcLhI สามารถเข้าดูเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/3dFZ7ZA

การแยกขยายรังชันโรง

การแยกขยายรังชันโรง

อุปกรณ์แยกขยายชันโรง ชุดปฏิบัติงาน สำหรับใช้ในการแยกขยายพันธุ์ชันโรง ควรเลือกเสื้อผ้าสีอ่อน ๆ หรือเป็นผ้าร่มหลีกเลี่ยงสีดำ เพราะชันโรงชอบตอมสีดำ จะทำให้เกิดการสูญเสียประชากรของชันโรง การมีหมวกตาข่ายไว้ป้องกันชันโรงตอมและกัด ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียงเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

แยกขยายรังชันโรง

แยกขยายรังชันโรง

ช่วงรอยต่อฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว เราสามารถแยกขยายรังชันโรง ได้ไหม? ถาม : ช่วงรอยต่อฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว เราสามารถแยกขยายรังชันโรง ได้ไหม?ตอบ : สามารถทำได้ แต่จะต้องเลือกทำการแยกขยายเฉพาะรังที่มีความสมบูรณ์เท่านั้น ถาม : รังสมบูรณ์ เป็นอย่างไร?ตอบ : รังสมบูรณ์ คือรังที่มีกลุ่มไข่หนาแน่น ฟองตัวไม่เหี่ยว มีทั้งสีเข้มและอ่อน คือมีทั้งไข่แก่และไข่อ่อนนั้นเอง นอกจากนั้นแล้ว ภายในรัง ต้องมีการสะสมอาหารพอสมควร ทั้งเกสรและน้ำหวาน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีไข่แก่ของนางพญา ภายในรังที่จะทำการแยกด้วย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่

การส่งเสริมเลี้ยงชันโรงสายพันธุ์ตัวใหญ่

การส่งเสริมเลี้ยงชันโรงสายพันธุ์ตัวใหญ่

แผ่นพับที่ 15/2566 การส่งเสริมเลี้ยงชันโรงสายพันธุ์ตัวใหญ่ เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตรhttps://www.facebook.com/agriman.doae.7 ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.