ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ปลูกแตงโมหลังทำนา สร้างอาชีพ การเตรียมดินไถดะตากดิน 7 วัน และไถพรวนยกร่อง ระยะปลูก 40-50 เซนติเมตร ระยะแถว 3 เมตร ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ พ่นไตรโคเดอร์มา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนมกราคม 2568 ฟรี วันที่ 7 มกราคม 2568วันที่ 8 มกราคม 2568วันที่ 9 มกราคม 2568 หลักสูตร พืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ได้แก่1.การผลิตต้นพันธุ์ พริกเดือยไก่

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หนอนกระทู้ผัก

หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

โรคแส้ดำอ้อย

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักกับ “มันสำปะหลัง” และ “ศัตรูของมันสำปะหลัง”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักกับ "มันสำปะหลัง" และ "ศัตรูของมันสำปะหลัง"

ชวนอ่านเรื่องราวของ “มันสำปะหลัง” และ “ศัตรูของมันสำปะหลัง” เนื่องจากช่วงนี้มีการระบาดในหลายพื้นที่ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 1.คำแนะนำการป้องกันกำจัด หนอนกระทู้…ในมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/4ccGaL22.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/44kBVbU3.ศัตรูมันสำปะหลังและการจัดการคลิกอ่าน : https://bit.ly/3uG8XqJ4.ศัตรูธรรมชาติในแปลงมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/3J70pMW

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช (คลอโรฟิลล์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ส่งเสริมการดูดกินและนำพาฟอสฟอรัสขึ้นสู่ลำต้น ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน มีส่วนช่วยในการสร้างน้ำมันเมื่ออยู่ร่วมกับกำมะถัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์พืช เมื่อพืชขาดแมกนีเชียม ใบแก่ (ใบล่าง) เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบสีเขียวชัดเจนบนใบสีเหลืองคล้าย “ก้างปลา” อาการนี้เรียกว่า “ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ” หรือ “คลอโรซีส” (chlorosis) อาการใบเหลือง จะเริ่มที่ใบแก่ที่สุดก่อนแล้วทยอยเหลืองขึ้นไปลำต้นส่วนบน แต่ใบบนจะไม่แสดงอาการนี้ ความสูงของต้นมักจะไม่ลดลงและใบจะไม่ผิดรูปร่าง การขาดแมกนีเซียม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในดินที่เป็นกรดจัดต่อมา เมื่อขาดแมกนีเซียมอย่างต่อเนื่อง ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตายในที่สุด ใบที่แตกออกมาใหม่จะมีขนาดเล็ก ขอบใบงอเข้าหากันและเปราะง่าย ง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช จากการสำรวจพื้นที่ ยังพบอาการขาดธาตุแมกนีเซียม โดยเกษตรกรแจ้งมาว่าพบอาการใบด่างสีเหลืองเขียว กลัวว่าจะเป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง จากการลงพื้นที่พบว่า อาการใบ

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง คำแนะนำ :1.เมื่อพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ในแปลง ให้เก็บและนำมาทำลาย พร้อมกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลง2.ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร เช่นㆍ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรㆍ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หมายเหตุ* หากการระบาดของหนอนลดลงให้ควบคุมด้วยชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bt) อัตรา 80 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว 15 วันทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร จัดซื้อสารเคมีสนับสนุนโดยเร่งด่วน ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid026Xgma92wiBBm9MApYmWts27K3JsePAvCXhqRtyzh8pQ1gaoq5oQDxGiUpKQGHWfdl

หนอนกระทู้ระบาดในมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้ระบาดในมันสำปะหลัง

เตือน “หนอนกระทู้” ระบาดในมันสำปะหลัง แนวทางการป้องกันกำจัด1. เมื่อพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ในแปลงให้เก็บ และนำมาทำลายพร้อมกำจัดวัชพืชที่อยู่ในแปลง และบริเวณรอบแปลง2. ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หากการระบาดของหนอนลดลงให้ควบคุมด้วยชีวภัณฑ์โดยฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bt) อัตรา 80 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว 15 วัน เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

โรครากเน่าโคนเน่ามันสำปะหลัง

โรครากเน่าโคนเน่ามันสำปะหลัง

โรครากเน่าโคนเน่ามันสำปะหลัง ลักษณะอาการ : ใบมันสำปะหลังแสดงอาการเหี่ยวเหลือง โคนต้นเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ บางพันธุ์โคนต้นจะมีการสร้างค้ำชูตรงรอยแตกของโคนต้น เมื่อถอนขึ้นมาหัวมันสำปะหลังแสดงอาการเน่า หากผ่าหรือหักหัวมันสำปะหลัง จะเห็นภายในสีน้ำตาล ในบางพันธุ์มีอาการเน่าที่อยู่ใต้ดิน โดยที่ส่วนของลำต้นและใบยังมีลักษณะปกติ หรือบางพันธุ์ถ้าอาการรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง