มะม่วงน้ำดอกไม้ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (GI)

มะม่วงน้ำดอกไม้ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (GI) มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่มีทรงผลรี เปลือกผิวบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองอมส้ม ปริมาณเส้นใยน้อย เมล็ดลีบ ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็นของจังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว” เมื่อ 3 พ.ค. 2562 จังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 15 ลิปดา ถึง 14 องศา 15 ลิปดาเหนือ และประมาณเส้นแวงที่ 101 องศา 45 ลิปดา ถึง 103 องศา สูงจากน้ำทะเล 74 เมตร ทิศเหนือมีเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นต้นกำเนินของแม่น้ำบางปะกง ตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบ ทิศตะวันออกเป็นที่ราบถึงราบสูง ทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ลาดเอียง สภาพดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดลูกรัง หรือดินเหนียวปนกรวดลูกรัง สีน้ำตาล สีแดงปนเหลือง หรือน้ำตาลปนแดง ด้วยสภาพดินดังกล่าว ทำให้มีการระบายน้ำได้ดี เนื่องจากดินมีความร่วนซุยที่เหมาะสมต่อการชอนไชของรากในการดูดน้ำและธาตุอาหารซึ่งการมีช่องว่างที่เกิดจากก้อนก
เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “มะยงชิด มะปรางหวาน @นครนายก”

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “มะยงชิด มะปรางหวาน @นครนายก” จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งผลิตมะยงชิดที่ขึ้นชื่อของประเทศ มีรสชาติและลักษณะที่โดดเด่น จนได้รับการตั้งชื่อว่า “มะยงชิดนครนายก” และจังหวัดนครนายกกำหนดจัดงาน “มะยงชิด มะปรางหวาน ตระการตา @นครนายก ในวันที่ 6-10 มีนาคม 2568 ณ ลานอเนกประสงค์เขื่อนขุนด่านปราการชล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก https://www.facebook.com/nakhonnayok.kaset มะยงชิดนครนายก จ.นครนายก (GI)คลิกอ่าน : https://bit.ly/4brXcFo การปลูกและดูแลมะปรางคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kjAdQN
มะยงชิดนครนายก จ.นครนายก

มะยงชิดนครนายก จ.นครนายก มะยงชิด เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดนครนายก มีผลใหญ่ รูปไข่ สีเหลืองส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนา แน่น กรอบ ด้วยจังหวัดนครนายกมีลักษณะ ภูมิประเทศทางตอนเหนือและตะวันออก เป็นภูเขาสูงชัน ติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทางตอนกลางและใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ มีความลาดเอียงลงมาทางใต้เล็กน้อย เกิดการสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาโดยน้ำตามความลาดชันของภูเขาโดยสะสมตัวบนหินฐานรากที่เป็นหินปูน ลักษณะของตะกอนชุดนี้ประกอบด้วยดินเหนียวปนทรายสลับกับชั้นกรวด ซึ่งดินในลักษณะนี้มีความพิเศษคือสามารถอุ้มน้ำได้ดี มีช่องว่างของเม็ดดิน จึงทำให้การระบายน้ำและการถ่ายเทของอากาศในดินดี ประกอบกับสภาพอากาศหนาวสลับร้อน ทำให้จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งผลิตมะยงชิดที่ขึ้นชื่อของประเทศ มีรสชาติและลักษณะที่โดดเด่น จนได้รับการตั้งชื่อว่า “มะยงชิดนครนายก” และจังหวัดนครนายกกำหนดจัดงานมะยงชิดมะปรางหวานนครนายกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม ของทุกปี ที่มา : โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ไทย ปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร
กระท้อน คลองน้อย

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร บางใบไม้ บางชนะ และคลองฉนาก อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รายละเอียดเพิ่มเติม : https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2025/01/GIregistration240-กระท้อนคลองน้อย.pdf สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดือนมกราคม, 2568
ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่ ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 60 ปี ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู จึงเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายสาย อีกทั้งมีน้ำพุร้อนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ จึงทำให้ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและรสชาติของลิ้นจี่ อีกทั้งมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ประกอบกับเกษตรกรดูแลแปลงปลูกเป็นอย่างดี มีการบำรุงต้น ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งช่อ ส่งผลให้ลิ้นจี่จักรพรรดิฝางมีผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี รสชาติอร่อย ผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย GAP เป็นที่ต้องการของตลาด ที่มา : โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ไทย ปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตร