เกณฑ์การประเมินพื้นที่ระบาดศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (1) ข้าว
ข้าว ให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุด สำรวจทั่วแปลงในนาหว่าน 10 ต้น ต่อจุดสำรวจ ในนาดำ 1 กอ ต่อจุดสำรวจ (นับทุกต้นใน 1 กอ) 1.เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ย 1-10 ตัวต่อจุด 2.แมลงหวี่ขาวข้าวพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 100 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ยน้อยกว่า 100 ตัวต่อจุด การป้องกันกำจัดในพื้นที่เฝ้าระวัง : ควรใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ระบาด : ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามชนิด กลุ่มสาร อัตราที่กำหนด และสลับกลุ่มสารเพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลง ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
โรคราน้ำค้างในข้าวโพด เกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi ลักษณะอาการ : จะพบจุดขนาดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำ โดยเฉพาะใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะใบยอดอาการที่เห็นได้ชัดจะพบอาการใบด่างหรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่จะพบส่วนของเชื้อราเป็นผงสีขาวบริเวณใต้ใบ อาการอื่น จะพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นเตี้ยแคระแกร็น ข้อถี่ ไม่ติดฝัก หรือมีฝักที่ติดเมล็ดน้อย/ไม่ติดเมล็ด (ข้าวโพดฟันหลอ) ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ **ข้าวโพดอายุ 1- 3 สัปดาห์ จะอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้างมากที่สุด ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคราน้ำค้างในข้าวโพด วิธีการดูแลรักษา *การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
เพลี้ยไฟฝ้าย ในพืชตระกูลแตง
เพลี้ยไฟฝ้าย ในพืชตระกูลแตง ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบแตงโมและพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีนและบวบ ปัญหาที่ควรระวังเพลี้ยไฟฝ้าย ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนในระยะแตงโมทอดยอด ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตลักษณะอาการที่เกิดจากเพลี้ยไฟฝ้ายเรียกว่า “ยอดตั้ง” หากเพลี้ยไฟฝ้ายระบาดในช่วงอายุ 1 เดือน หลังจากปลูกจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก ถ้าพ้นช่วงนั้นแล้วแตงโมจะทอดยอดก็จะทนการทำลายได้ดีกว่า มักพบการระบาดในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ควรพ่นสารแบบสลับกลุ่มสารตามกลไกการออกฤทธิ์ ทุกรอบ 14 วัน โดยพ่นสารแต่ละกลุ่มไม่เกิน 3 ครั้งต่อรอบ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
โรคราน้ำค้างในข้าวโพด ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้เริ่มปลูก-อายุ ประมาณ 30 วัน (เป็นระยะที่อ่อนแอต่อโรคนี้มาก) ปัญหาที่ควรระวังโรคราน้ำค้าง : เชื้อรา Peronosclerospora sorghi ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1.ควรใช้พันธุ์ต้านทาน และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น 2.ในแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรค หากพบว่ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคคืออุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง เมื่อข้าวโพด อายุ 5-7 วัน ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ทุก 7 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง เช่น 3. ถอนต้นที่แสดงอาการของโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก 4. พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน “เชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายได้ ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช หลังจากข้าวโพด อายุ 20 วัน ขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้” จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
ปฏิทินเตือนการระบาดศัตรูพืช
ปฏิทินเตือนการระบาดศัตรูพืช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา