ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เผาแล้วไม่ดีอย่างไร?

การเผา ผิดกฏหมาย !! และก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น ฝุ่นละออง PM 2.5 หมอกควัน ก๊าซพิษ เป็นอันตราย ทำลายสุขภาพ ส่งผลกระทบถึงการท่องเที่ยว ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึงก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ฝนแล้ง ได้อีกด้วย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

กรมส่งเสริมการเกษตร ขอเชิญชวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อ “ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ว่าด้วยการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่วิสาหกิจชุมชนนิติบุคคล” ตั้งแต่บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยวัสดุจากพืชผักและผลไม้ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ คืออะไร? คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนําวัสดุจากธรรมชาติ มาผ่านกระบวนการหมักในรูปของเหลวโดยใช้จุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย ทําให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิเจน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์ หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ํา ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

Yogurt Powder รายละเอียดสินค้า “White Tiger” แบรนด์ที่นำถั่วลายเสือมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปนมสดพร้อมดื่ม นมอัดเม็ดและโยเกิร์ตพาวเดอร์ (yogurt powder) สร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคที่ต้องการเสริมสร้างโปรตีน ตอบโจทย์อาหาร Plant-Based พร้อมกับแตกไลน์ผลิตของใช้ อาทิ น้ำมันถั่วลายเสือ หรือแม้กระทั่งผลิตภาชนะจาน ชามจากเปลือกถั่ว สร้างมูลค่าเพิ่มแทนการทำลาย โยเกิร์ตพาวเดอร์ (yogurt powder) หรือโยเกิร์ตผง

การไถกลบทดแทนการเผา

การไถกลบทดแทนการเผา ทางเลือกจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร การไถกลบเศษวัสดุการเกษตรลงไปในดิน นอกจากจะช่วยลดปัญหาการเผาแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อการผลิตพืชอีกหลายประการ ได้แก่ การไถกลบควรทำควบคู่ไปกับการใช้ “น้ำหนักชีวภาพ” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายเศษวัสดุการเกษตรให้เป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดตาก

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 กองส่งเสริมอารักขาพืชและจัดการพืชปุ๋ย ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 750 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดนิทรรศการวันดินโลก ในวันที่ 5 ธันวาคม 2566

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานเกษตรอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 580 เล่ม/แผ่น สำหรับให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรแก่เกษตรกรในพื้นที่ นำไปปฏิบัติเพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองได้

โรคใบติดหรือใบไหม้ทุเรียน เกิดจาก เชื้อรา Rhizoctonia solani อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผล คล้ายถูกนํ้าร้อนลวก ต่อมาแผลจะ ขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล มีขนาด และรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อใบที่เป็นโรคร่วงหล่นบริเวณโคนต้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา และกระจายแพร่เชื้อต่อไป มักระบาดในช่วงฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง รวมถึงต้นทุเรียนที่มีทรงพุ่มหนา ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว โรคขอบใบแห้งทําลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้าที่ขอบใบต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นโดยรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก (kresek) การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ไม่ใส่ ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปสารเคมีป้องกันกําจัด เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์

ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทhttps://www.facebook.com/DoaeChainat ทางเลือกในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

หนอนหัวดำทำลายล้างสวนมะพร้าว จัดทำโดย : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

การคำนวณระยะปลูกไม้ผล จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลกhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว จัดทำโดย : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู “ข้าวระยะกล้า” จัดทำโดย : กลุ่มอารักพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กรมส่งเสริมการเกษตรhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100068112708969