ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรงเรียนเกษตรกร เริ่มยังไงดี.. เลือกกลุ่ม สร้างความคุ้นเคย วิเคราะห์กลุ่ม จัดทำหลักสูตร จัดกระบวนการเรียนรู้ สรุปผล/ขยายผล เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคและแมลงศัตรูลำไยที่สำคัญ ที่มักพบเข้าทำลายลำไยในระยะติดผลและเจริญพัฒนาของผล มีดังนี้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่

สร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สู่การตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าแทนการเผาในพื้นที่เกษตร บูรณาการร่วมกับพื้นที่ สร้างเกษตรมูลค่าสูง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอลาดหลุดแก้ว จังหวัดปทุมธานี

เพลี้ยอ่อนในพริก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดการทำลายของเพลี้ยอ่อนในพริก จะทำให้ใบบิดเป็นคลื่น ทำให้ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโต และยังเป็น “พาหะนำเชื้อไวรัส ทำให้เกิดโรคใบด่างในพริก” มักระบาดในช่วงอากาศแห้งแล้ง เรียบเรียงโดย :  กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

หนอนปลอกเล็ก หนอนปลอกเล็กจะแทะผิวใบ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูขาดแหว่ง ถ้าเข้าทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้น เเป็นสีน้ำตาลแห้ง ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง หรือไม่ได้ผลผลิต ตัวเต็มวัยหนอนปลอกเล็กเป็นผีเสื้อกลางคืน ระยะหนอนเป็นระยะที่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยหนอนจะเริ่มแทะผิวใบมะพร้าว หรือใบปาล์มน้ำมัน ผสมกับใยที่ขับออกมาจากปปากนำมาสร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง ปลอกมีช่องเปิด 2 ทาง ช่องเปิดด้านบนสำหรับโผล่หัวออกมาแทะกินใบพืช ส่วนด้านล่างสำหรับเป็นช่องขับถ่าย ระยะหนอนใช้เวลาประมาณ 92-124 วัน การแพร่กระจายโดยลม

เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว ส่วนที่ถูกเพลี้ยอ่อนทำลาย ใบอ่อนหงิกงอ ดอกร่วง ไม่ติดฝัก และหากฝักอ่อนถูกดูดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้ฝักมีขนาดเล็กลง หากการทำลายรุนแรงจะทำให้หยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด เพลี้ยอ่อนยังปล่อยของเหลว ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เหลือใช้ผสมกับของเสียออกมาทางช่องขับถ่าย เรียกว่า “มูลน้ำหวาน” ซึ่งเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนปกคลุมใบและฝักผลผลิตจึงไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน แมลงศัตรูที่สำคัญของทุเรียน เนื่องจากทุเรียนอยู่ในระยะของการพัฒนาผล การเข้าทำลายของหนอนเจาะเมล็ด ส่งผลเสียต่อผลผลิตทุเรียน ทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบ การระบาดให้ดำเนินการหาแนวทางควบคุมและป้องกันกำจัด ก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

คลังความรู้กรมส่งเสริมการเกษตร

ค้นหาข้อมูล

กรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ที่ช่องค้นหาข้อมูล

เลื่อนไปทางซ้าย – ขวา เพื่ออ่านเรื่องถัดไป

ข่าวประชาสัมพันธ์

องค์ความรู้ด้านการเกษตร

คลังหนังสือออนไลน์

รวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้และข้อมูลด้านการเกษตร ให้บริการในรูปแบบหนังสือ e-Book และไฟล์ PDF.

คลังหนังสือออนไลน์

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ห้องสมุด (e-Library) สามารถสืบค้น/ยืม หนังสือ นิตยสาร และวารสารของกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานภายนอกได้

เข้าสู่ระบบห้องสมุด

เรื่องนี้มีคำตอบ

รวมประเด็นคำถามสำคัญ งานตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เกษตรกรควรรู้

เรื่องนี้มีคำตอบ

"เกษตรมาแล้ว"

คลิปวิดีโอสั้น เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านช่องทาง Tiktok "เกษตรมาแล้ว"

เข้าชม เกษตรมาแล้ว

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา https://www.facebook.com/Sikhio.doae2563

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา https://www.facebook.com/Sikhio.doae2563

ระวังหนอนกอในอ้อย จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา https://www.facebook.com/Sikhio.doae2563

ด้วงหนวดยาวอ้อยในอ้อย จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา https://www.facebook.com/Sikhio.doae2563

เพลี้ยแป้ง (Mealybug) ในทุเรียน จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืช จังหวัดสุราษฏร์ธานี https://www.facebook.com/profile.php?id=100007446226945

หนอนใยผัก จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืช จังหวัดสุราษฏร์ธานี