ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่ ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 60 ปี ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู จึงเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ

มะนาวยักษ์พม่า

มะนาวยักษ์พม่า ผลขนาดใหญ่ ผลดก ให้น้ำเยอะ ลักษณะเด่นมะนาวพม่าหรือมะนาวยักษ์ มีผลขนาดใหญ่คล้ายผลส้มโอ น้ำหนักเฉลี่ยประมาณลูกละครึ่งกิโลกรัม สามารถนำมาคั้นเพื่อรับประทานสด ๆ หรือใช้ปรุงอาหารได้ แต่ไม่ค่อยมีกลิ่นหอม จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก และมีการนำไปปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นสูง ประมาณ 3-5 เมตร การแตกกิ่งไม่ค่อยเป็นระเบียบ การขยายพันธุ์พืชและการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้ใช้ผลเป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวดหัว แก้อาเจียน ขับเสมหะ

มะนาวตาฮิติ

มะนาวตาฮิติ มะนาวไร้เมล็ด หรือมีก็น้อยมาก ผลรูปกลมคล้ายหยดน้ำ ผลใหญ่ รสเปรี้ยว ปริมาณน้ำมาก ลักษณะเด่นมะนาวตาฮิติเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากเกาะตาฮิติ รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อศึกษา ปลูก และขยายพันธุ์ พบว่า มะนาวพันธุ์นี้เติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของไทย ผลมีขนาดใหญ่มาก เปลือกหนา เมื่อแก่จัดก็ยังมีสีเขียวเข้มเหมือนเดิม มีน้ำมากกว่ามะนาวชนิดอื่น จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จุดเด่นคือผลใหญ่ ให้น้ำมาก

มะนาวแป้นพิจิตร 1

มะนาวแป้นพิจิตร 1 ลักษณะเด่นผสมพันธุ์ขึ้นใหม่ โดยนักวิชาการไทยจากศูนย์วิจัยพืชสวน ซึ่งใช้มะนาวแป้นรำไพเป็นแม่พันธุ์ผสมกับมะนาวน้ำหอม ลักษณะเด่นคือทนต่อโรคแคงเกอร์ได้ดี ปลูกง่าย ต้นเตี้ย ติดดอก ติดผลตลอดปี ติดผลเป็นพวง พวงละ 3-5 ผล ผลดก ผลใหญ่ ผิวสวย น้ำมาก น้ำมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวจัด จึงนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มสูง

สำนักพัฒนาสังคม

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 1,750 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้เรื่องการลดการเผาตอซังข้าวและวัสดุทางการเกษตร

แมกนีเซียม (Mg) กับการเจริญเติบโตของพืช เป็นธาตุที่มีส่วนสำคัญของคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง และเป็นธาตุที่สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้ คลอโรฟิลล์ในพืชมีความคล้ายกับฮีโมโกลบินในเลือดมนุษย์ โดยคลอโรฟิลล์ประกอบด้วย ธาตุแมกนีเซียม (Mg) ส่วนฮีโมโกลบิน มีธาตุเหล็ก (Fe) เป็นส่วนสำคัญ หน้าที่ การขาดแมกนีเซียมในพืช พบที่ใบแก่ อาการเส้นสีเหลืองระหว่างใบ การแก้ปัญหาอาการขาดธาตุแมกนีเซียมในพืช ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประโยชน์ของนาดำ

การปลูกข้าวแบบนาดำ หมายถึง การทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ก่อน เรียกว่า การเพาะกล้า เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการ จะถอนต้นกล้าไปปักดำในพื้นที่นาที่เตรียมไว้ แต่ข้อเสียวิธีนี้ ต้องใช้แรงงานมาก ประโยชน์ของนาดำ ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว

สมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช สมบัติของดินทั้ง 3 ด้าน มีการเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ดินมีโครงสร้างที่ดี ส่งผลให้มีสมบัติทางเคมีที่ดี โดยเฉพาะการจัดเก็บธาตุอาหารไว้ให้พืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ยังช่วยเกื้อหนุนสมบัติของดินให้ดี สุดท้ายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีของพืช ดังนั้น หากดินมีปัญหาด้านใด ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข และต้องทำก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ กายภาพ เคมี ชีวภาพ ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน เชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp. ลักษณะอาการเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (ลุกลาม) บนใบ โดยจุดดังกล่าวจะขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน การระบาดระบาดมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์สาหร่าย สามารถแพร่กระจายได้ทางลมและฝน การป้องกันกำจัด การใช้สารเคมี เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารัขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน

หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหน้าแมว สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปและมีอากาศรร้อนจัดหลายพื้นที่ เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในทุกระยะการเจริญเติบโตรับมือหนอนหน้าแมว หนอนหน้าแมว จะกัดเข้าทำลายในปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ขอเชิญร่วมอบรม “การบริหารจัดการศัตรูพืช ในสวนปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน”

ขอเชิญร่วมอบรม "การบริหารจัดการศัตรูพืช ในสวนปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน"

เชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่อำเภอหนองใหญ่ บ่อทอง เกาะจันทร์ และบ้านบึง เข้าร่วมอบรม “การบริหารจัดการศัตรูพืช ในสวนปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน” ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก (สมาคมชาวไร่อ้อยบ่อทอง) ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

โรงเรียนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน ครั้งที่ 2

โรงเรียนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน ครั้งที่ 2

โรงเรียนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน ครั้งที่ 2 วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 โรงเรียนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี หัวข้อการเรียนรู้ ดินและปุ๋ยที่เหมาะสมในปาล์มน้ำมัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัชพืชในปาล์มน้ำมัน

วัชพืชในปาล์มน้ำมัน

สารทางเลือกในการจัดการวัชพืชในปาล์มน้ำมัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ยhttps://www.facebook.com/profile.php?id=100063968557948